รัฐบาลอาจเจอปัญหาล่วงล้ำเสรีภาพส่วนบุคคลหากบังคับฉีดวัคซีนโควิด-19

ข่าวออนไลน์สำนักข่าว SBS วันที่ 23 ส.ค. 2020 ตั้งคำถามว่ารัฐบาลและนายจ้างสามารถบังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ภายใต้กฎหมายได้หรือไม่? และนี่คือทางออก

23 ส.ค. 2020 นาย Scott Morrison นายกรัฐมนตรีนำพาตัวเองเป็นเป้าโจมตีหลังจากเขาออกมาประกาศมีแผนที่จะให้ประชาชนทุกคนฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฟรีทั่วประเทศ

แม้นายกรัฐมนตรีจะใช้คำว่า “บังคับ” (mandatory) แต่เขาได้ชี้แจ้งว่าเป้าหมายของรัฐบาลตั้งไว้ไม่ต่ำกว่า 95% ของประชากรในออสเตรเลีย

แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศแสดงท่าทีสนับสนุนการฉีดวัคซีน แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อยที่ต่อต้านอย่างเช่นกลุ่มทฤษฎีสมคบคิด หรือกลุ่มต่อต้านการฉีดยาบนเหตุผลของความเชื่อทางศาสนา นอกจากนั้นยังมีการตั้งคำถามถึงความชอบธรรมในการบังคับฉีดวัคซีนเป็นต้นว่า

-นายจ้างมีสิทธิในการบังคับให้ลูกจ้างให้ฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

-บุคคลจะสามารถอ้างสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลเพื่อยกเว้นไม่ฉีดวันซีนเป็นต้นว่าการคัดค้านการฉีดวัคซีนอย่างมีเหตุผล

-สายการบินมีสิทธิ์ขอให้ผู้โดยสารแสดงใบรับรองการฉีดวัคซีนก่อนอนุญาตให้ผู้โดยสารขึ้นเครื่องได้หรือไม่

ภายใต้กฎหมายพื้นฐานของออสเตรเลีย สามารถตีความได้ว่าบุคคลจะไม่อยู่ในเงื่อนไขของการบำบัดทางการแพทย์โดยไม่ได้รับความยินยอม

อย่างไรก็ตามยังมีข้อหักล้างภายใต้กฎหมายสาธารณสุขของรัฐและดินแดน อย่างเช่นกฎหมายสาธารณสุขรัฐวิกตอเรียมาตรา 116 และ 117 ระบุว่า อนุญาตให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถสั่งให้ประชาชนเข้ารับการตรวจสอบทางการแพทย์, ทดสอบ, และรักษาอาการโดยไม่ต้องได้รับความยินยอม ถ้าเป็นกรณีที่เป็นการประกาศทางสุขลักษณะอนามัยสาธารณะ

ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าอาจมีผู้เดินเรื่องคัดค้านทางกฎหมายโดยอ้างว่าการฉีดวัคซีนเป็น “การป้องกัน” ไม่ใช่ “การบำบัดรักษา” แต่ก็อาจมีการหักล้างได้ด้วยการออกพรบ.แก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม

ส่วนในปัญหาของนายจ้างมีสิทธิบังคับให้ลูกจ้างฉีดวัคซีนได้หรือไม่ ในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลกลางเคยประสบปัญหาผู้ปกครองเด็กที่มีความเชื่อในศาสนาบางลัทธิปฏิเสธไม่ให้บุตรของตนเข้ารับการฉีดวัคซีน รัฐบาลตอบโต้ด้วยการไม่รับเด็กที่ไม่ฉีดวัคซีนเข้าศูนย์ดูแลเด็กเล็ก เพื่อป้องกันเด็กเล็กส่วนใหญ่ติดเชื้อ และที่หนักไปกว่านั้นกับกฎไม่นำบุตรฉีดวันซีน รัฐบาลก็มีสิทธโดยชอบธรรมที่จะไม่จ่ายเงินสวัสดิการครอบครัวหรือนโยบาย “no jab no pay” ซึ่งนายจ้างสามารถดัดแปลงมาใช้เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างส่วนใหญ่ได้ โดยไม่ต้องกลัวการต่อต้านของคนหมู่มาก เพราะสหภาพแรงงานส่วนใหญ่สนับสนุนการฉีดวัคซีน

ส่วนในด้านสายการบินสามารถนำเหตุผลเดียวกันในการขอให้ผู้โดยแสดงแสดงบัตร “มีสุขภาพดีความพร้อมที่จะเดินทาง” หรือ “fitness to fly” ก่อนอนุญาตให้ขึ้นเครื่องบินเช่นกัน

ด้วยมาตรการฉีดวัคซีนที่นำมาใช้กับเด็กเล็กทำให้รัฐบาลสามารถผลักดันการฉีดวัคซีนให้กับเด็กในออสเตรเลียได้ในระดับ 91% รัฐบาลกลางตั้งเป้าว่าจะมีประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 ในระดับใกล้เคียงกันหรือสูงกว่านี้

จิงโจ้นิวส์ได้ท่องอินเทอร์เน็ตดูราคาวัคซีนป้องกัน COVID-19 มีตั้งแต่เข็มละ 10 เหรียญไปจนถึง 520 เหรียญ บ้างก็ว่าต้นทุนการผลิตตกเข็มละ 16 เหรียญ แต่มีการประเมินกันว่าน่าจะอยู่ระหว่าง 12 ถึง 20 เหรียญ (271 ถึง 452 บาท*)

ท่านผู้อ่านละครับ หากไม่ถูกบังคับให้ต้องฉีดวัคซีน เมื่อถึงเวลาวัคซีนมาถึง (คาดว่าปลายปีนี้ไปถึงกลางปีหน้า) ท่านจะเข้ารับการฉีดวัคซีนฟรีหรือไม่?

หมายเหตุ * อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในวันที่ 23 สิงหาคม 2020 เงิน 1 ดอลล่าร์ออสเตรเลียเท่ากับ 72 เซนต์สหรัฐและเท่ากับ 22.59 บาท (ข้อมูลกลางจาก google.com.au ณ เวลา UTC 9.04 น. 23/08/2020)

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)

Jingjonews เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , ,

Leave a Reply

Discover more from jingjonews

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading