FWO พบร้านชาไข่มุกชื่อดัง Chatime เจตนากดค่าแรงลูกจ้างกว่า 150 คน

29 ธ.ค. 2019 ท่านที่ชอบกินชาไข่มุกคงจะรู้จักร้าน Chatime ร้านนี้ผู้บริหารถูกสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อการจ้างงานที่เป็นธรรมหรือ FWO กล่าวหาว่าเจตนาใช้ ‘รูปแบบธุรกิจ’ ด้วยการจ่ายค่าจ้างแรงงานต่ำกว่ากฎหมายกำหนด

FWO ได้เดินเรื่องฟ้องร้องแฟรนไชส์ Chatime และนาย Chen Zhao หรือ Charlley กรรมการผู้อำนวยการต่อการจ่ายค่าแรงงานพนักงาน 152 คนที่ทำงานตามสาขา 10 แห่งในนครซิดนีย์และเมลเบิร์นเพียงชั่วโมงละ 7.59 เหรียญ

หนังสือพิมพ์ The Financial Review รายงานว่านาย Zhao รู้ดีว่าลูกจ้างได้รับค่าแรงต่ำกว่ากฎหมายกำหนดย้อนหลังไปในปี 2013

เขาถูกกล่าวหาว่า มีส่วนในการกำหนด “แบบจำลองธุรกิจ” (business model ) ที่ให้ค่าจ้างต่ำกว่า 1 ใน 3 ของต้นทุนค่าใช้จ่าย

จากเอกสารที่ยื่นต่อศาลแสดงให้เห็นว่านาย Lawrence Chen เจ้าหน้าที่การเงินอาวุโส (CFO) ได้แจ้งให้นาย Zhao และนาง Iris Qian ผู้ร่วมก่อตั้ง Chatime รับทราบถึงเรื่องความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ธุรกิจจ่ายแก่พนักงานกับสิ่งที่พนักงานพึงมีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมาย

Chatime ภายใต้การบริหารของนาย Zhao ถูกกล่าวหาว่า ได้จ่ายค่าจ้างพนักงานเป็นเงินสดในอัตราชั่วโมงละ 9.42 เหรียญ ในขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำของพนักงานประจำในขณะนั้นอยู่ที่ชั่วโมงละ 17.96 เหรียญ

นาย Chen ได้บอกแก่นาย Zhao ว่าค่าแรงที่บริษัทจ่ายให้พนักงานเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และกล่าวว่าการจ่ายค่าแรงอย่างถูกกฎหมายและรวมถึงค่าเครื่องแบบและค่าลาหยุดพักผ่อนประจำปีจะมีต้นทุนที่ 854,862 ต่อปี

นาย Chen ยังกล่าวว่า เขาได้ให้ทางเลือกที่เรีกว่า “แบบจำลองต้นทุน B” ด้วยการจ่ายค่าแรงลูกจ้างตามอัตราชั่วโมง(จริง)ที่รวมการับภาระค่าเครื่องแบบ แต่ไม่รวมถึงค่าลาหยุดผักผ่อนประจำปี, อัตราค่าแรงล่วงเวลาและค่าแรงทำงานวันหยุดต่าง ๆ

แบบจำลองต้นทุน B ถือว่า มีความผ่อนปลนเข้าใกล้สารสำคัญของความถูกต้อง(ตามกฎหมายแรงงาน)มากยิ่งขึ้น และได้ถูกนำมาใช้ในปี 2014

ศาลพบว่าในจำนวนลูกจ้าง 152 คนที่ได้รับการจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าสิทธิ์พึงได้ตามสภาพการจ้าง 42 คนมีอายุต่ำกว่า 21 ปี โดย 95 คนเป็นชาวต่างชาติผู้ถือวีซ่าเข้าเมือง ค่าจ้างที่จ่ายต่ำกว่าความเป็นจริงเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 170,000 เหรียญ

นาง Sandra Parker ผู้อำนวยการบริหารของ FWO กล่าวว่าการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องตามกฎหมายถือเป็นความสำคัญอันดับต้น ๆ ของแฟรนไชส์และผู้ถือแฟรนไชส์

เธอกล่าวว่าในอุตสาหกรรมภาคร้านอาหารฟาสต์ฟูด, ร้านอาหารและคาเฟ่ที่ซึ่งว่าจ้างแรงงานที่เปราะบาง ยังจะอยู่ในกลุ่มที่เจ้าหน้าที่ FWO เข้าตรวจสอบต่อไป

ในช่วงที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของ FWO ได้เข้าตรวจสอบกิจการแฟรนไชส์ที่เปิดดำเนินกิจการในออสเตรเลียประกอบด้วย Chatime, GongCha, Hot Star Chicken, PappaRich, Sushi Izu, Nene Chicken และ The Sushi 79

6 ใน 7 แฟรนไชส์ที่เข้าตรวจสอบนี้มีต้นกำเนิดในต่างประเทศ คือจากประเทศในทวีปเอเชีย 5 แฟรนไชส์และจากสหรัฐอีก 1 แฟรนไชส์

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)

Jingjonews เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , ,

Leave a Reply

Discover more from jingjonews

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading