11 มี.ค. 2019 ถือเป็นความโชคร้ายของน.ส. Juttima Chinnasri (จุติมา ชินศรี) วัย 28 ปีที่ติดเชื้อโรคกาฬหลังแอ่นโดยคิดว่าเป็นไข้หวัด กรณีของเธอถือเป็นตัวอย่างหากมีอาการไข้อย่าชะล่าใจว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ เพราะมีหลายโรคที่เริ่มจากอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา
น.ส.จุติมาแห่งนครซิดนีย์ได้เข้านอนแต่หัวค่ำในเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา หลังจากเธอรู้สึกเป็นไข้โดยเชื่อว่าเป็นไข้หวัดใหญ่
เมื่อเธอตื่นขึ้นมาในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น เธอพบว่าเนื้อตัวของเธอเป็นสีคำจ้ำ ๆ, มีผื่นสีเข้มอย่างน่าตกใจ เธอถูกรีบนำส่งโรงพยาบาล St George Hospital ในย่าน Kogarah ประมาณ 14 กม.ทางใต้ของใจกลางนครซิดนีย์
แพทย์ได้แจ้งให้เธอมาทราบว่าเธอกำลังป่วยมาก ผลตรวจเลือดออกมาว่าติดเชื้อโรคกาฬหลังแอ่นชนิด B (meningococcal B)
แพทย์ได้ทำให้เธออยู่ในสภาพไม่รู้สึกตัวขั้นโคม่า จากนั้นคณะแพทย์ได้พยายามช่วยชีวิตเธออย่างเต็มสามารถ
เมื่อน.ส.จุติมาฟื้นขึ้นมาในอีก 10 วันต่อมา เธอได้รับแจ้งว่าแพทย์จำเป็นต้องตัดขาของเธอทั้งสองข้างและนิ้วมือส่วนหนึ่งออกไป
เธอได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ The Daily Telegraph ว่า ใจหนึ่งของเธอยังไม่เชื่อ และหวังว่าน่าจะมีหนทางอื่นที่เธอจะไม่ต้องสูญเสียขาและนิ้วมือ

ข่าวออนไลน์นสพ. Daily Mail วันที่ 11 มี.ค. 2011 เสนอข่าว สาววัย 28 ปีติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นโดยตัวเองคิดว่าเป็นเพียงแค่ไข้หวัด
จากนั้นเธอได้ใช้เวลาอยู่ที่โรงพยาบาลอีกสามเดือนเพื่อฟื้นฟูร่างกายและเรียนรู้การใช้ชีวิตโดยไม่มีขาและนิ้วมือ ก่อนที่แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านซึ่งเธออยู่อาศัยกับบิดามารดาที่ย่าน Kogarah
ถึงวันนี้สภาพจิตใจของน.ส.จุติมาแข็งแกร่งขึ้น แม้จะไม่สามารถเดินได้อีกต่อไป แต่บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ (UTS) เชื่อว่าเธอโชคดีมากที่ยังมีชีวิตอยู่
เชื้อไข้กาฬหลังแอ่นชนิด B เป็นเชื้อที่พบมากที่สุดในเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น 5 ชนิด ผู้ที่ติดเชื้อนี้ 1 ใน 10 คนจะเสียชีวิต
นาง Eliza Ault-Connell แห่ง Meningococcal Australia ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ The Daily Mail ว่าเวลาคือปัจจัยสำคัญที่กำหนดว่าผู้ป่วยจะรอดหรือจะเสียชีวิต จะหายในสภาพปกติหรือจะต้องตัดแขนตัดขาทิ้ง
เธอกล่าวว่า บ่อยครั้งที่เห็นป่วยยังปกติในเวลาอาหารเช้า แต่ได้เสียชีวิตลงก่อนถึงเวลาอาหารค่ำ
ข้อมูลจาก Meningococcal Australia ระบุว่าไข้กาฬหลังแอ่นเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ผู้ติดเชื้อสามารถเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง หากไม่สังเกตอาการหรือเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที
ปัจจุบันเชื้อแบคทีเรียไข้กาฬหลังแอ่นมีด้วยกัน 5 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีวัคซีนป้องกันในออสเตรเลีย
แม้จะมีรายงานว่าผู้ป่วยในออสเตรเลียจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีผู้ติดเชื้อ 10% เสียชีวิตและประมาณ 20% ต้องพิการ
การตัดแขนหรือขาเป็นเรื่องปกติของผู้ติดเชื้อกาฬหลังแอ่น นอกจากนั้นเชื้อยังทำลายอวัยวะของร่างกาย โดยเฉพาะไต ในกรณีที่ติดเชื้ออย่างรุนแรง ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการล้างไตระยะยาว
สองในสามของผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่นจะเป็นกลุ่มทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากพวกเขามีระบบภูมิคุ้มกันต่ำกว่าเด็กโตและผู้ใหญ่
jingjonews.com
jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)
Jingjonews เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์
Categories: ข่าวคนไทยในออสเตรเลีย, ข่าวออสเตรเลีย
Leave a Reply