ตัวอย่างผู้ลี้ภัยประสบความสำเร็จ ก่อตั้งร้านทำเล็บรายแรก ๆ ในแดนจิงโจ้

นาง Gamble Breaux ได้รับการตกแต่งเล็บจาก Helen, Mina และ Rosie สามพนักงานสาวของ Hollywood Nails สาขา Emporium จากหน้า 14 ของนสพ. Herald Sun

นาง Gamble Breaux ได้รับการตกแต่งเล็บจาก Helen, Mina และ Rosie สามพนักงานสาวของ Hollywood Nails สาขา Emporium จากหน้า 14 ของนสพ. Herald Sun

14 ก.ย. 2015 จิงโจ้นิวส์เข้าใจเองว่าธุรกิจร้านแต่งเล็บในออสเตรเลียน่าจะตกอยู่ในมือคนเวียดนาม และน่าจะทำรายได้ดี เพราะเจ้าของร้านข้างบ้านประมูลซื้อบ้านได้อีกแล้ว และข่าวนี้เป็นเรื่องราวของผู้ลี้ภัยด้านมนุษยธรรมที่ถูกหนังสือพิมพ์ Herald Sun สื่อหลักในนครเมลเบิร์นยกตัวอย่างขึ้นมาถึงความสำเร็จของผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในรัฐวิกตอเรีย

ผู้ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคือนาย Dung Le ผู้ลี้ภัยจากเวียดนาม เขาเข้ามาอยู่อาศัยในออสเตรเลียในปี 1984 โดยเริ่มอาชีพในธุรกิจทำเสื้อผ้าตามความถนัดของตน จนกระทั่งในทศวรรษที่ 1990s เขาเริ่มตระหนักว่าอุตสาหกรรมเสื้อภาพในออสเตรเลียถึงยุคล้มสลายอย่างแน่นอน ก่อนที่ข้อตกลงการค้าเสรีจะมาถึงเสียอีก

หมายเหตุ ขออนุญาตออกนอกเรื่อง จิงโจ้นิวส์จำได้ว่าในตอนนั้นอุตสาหกรรมเสื้อผ้าในออสเตรเลียอยู่ในภาวะกระอักเลือด จากสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปนำเข้าจากต่างประเทศ เข้ามาตีตลาดในราคาถูกกว่าผลิตในประเทศหลายเท่า ในช่วงนั้นมีคนไทยหัวใสสั่งกางเกงยีนส์จากกรุงเทพฯมาขายได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ สั่งมากี่คอนเทนเนอร์ก็ขายหมดเกลี้ยง แต่ก็ทำกำไรได้ในระยะเวลาอันสั้น ไม่นานก็ถูกกางเกงยีนส์จากจีนนำเข้ามาตีตลาดในราคาต่ำกว่าต้นทุนที่สั่งจากประเทศไทยเกือบครึ่งต่อครึ่ง ทำให้คนไทยหัวใสที่ปรับตัวไม่ทันเจ๊งกันไปทั่วหน้า

นาย Le ได้เปลี่ยนอาชีพมาเปิดร้านแต่งเล็บภายใต้ชื่อ Hollywood Nails ถึงวันนี้เขามีร้านแต่งเล็บสาขาทั่วรัฐวิกตอเรีย 70 ร้าน โดยจ้างพนักงานหลายร้อยคน

ธุรกิจร้านเสริมความงามโดยผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามได้กลายเป็นแนวนิยมในหลายประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐ ในขณะที่ Hollywood Nails ก็สามารถดึงดูบุคคลในวงการทีวีของออสเตรเลียเข้ามาเป็นลูกค้าหลายคน

หนึ่งในนั้นคือนาง Gamble Breaux ผู้แสดงทีวีซีรีส์ Real Housewives of Melbourne ก็เป็นหนึ่งในลูกค้าประจำของ Hollywood Nails โดยเธอใช้บริการที่สาขาภายในศูนย์การค้า Emporium ในย่านธุรกิจกลางใจเมืองของเมลเบิร์น

นาง Breaux กล่าวว่า พนักงานสาว ๆ ของที่นี่ทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยม, สะอาด และเคารพในความเป็นส่วนตัว

สำหรับนาย Le เขาพูดถึงตัวเขาว่าเป็น “เรือมนุษย์” ที่หลบหนีภัยคอมมิวนิสต์เวียดนามในปี 1982 ลงเรือไปยังประเทศฟิลลิปปินส์ โดยใช้เวลาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่นั้นเป็นเวลา 2 ปีก่อนมาอยู่ออสเตรเลีย

 นสพ. the Daily Telegraph ฉบับ 14 ก.ย. 2014 เสนอข่าวผู้ลี้ภัยบนพื้นฐานมนุษยธรรมเกือบ 90% เป็นผู้ที่ต้องพึ่งพาเงินสวัสดิการณ์

นสพ. the Daily Telegraph ฉบับ 14 ก.ย. 2014 เสนอข่าวผู้ลี้ภัยบนพื้นฐานมนุษยธรรมเกือบ 90% เป็นผู้ที่ต้องพึ่งพาเงินสวัสดิการณ์

เรื่องราวของนาย Le ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง หลังจากสำนักงานสถิตแห่งออสเตรเลีย (ABS) ออกรายงานผลการวิจัยล่าสุดพบว่า ผู้อพยพ (ผู้ลี้ภัย) บนพื้นฐานด้านมนุษย์ธรรมเกือบ 90% เป็นผู้ที่ต้องพึ่งพาเงินสวัสดิการของรัฐ

ในทางกลับกัน ABS พบว่าผู้อพยพด้านมนุษยธรรมที่เกิดในสหราชอาณาจักรและแอฟริกาใต้เป็นกลุ่มที่สามารถสร้างรายได้จากการทำธุรกิจสูงสุดด้วยรายได้เฉลี่ยราว 56,000 เหรียญต่อปี ตามด้วยจากซิมบับเว่ 53,295 เหรียญ และฟิลิปปินส์เกือบ 50,000 เหรียญ

ในทางกลับกันกลุ่มผู้เข้ามาตั้งหลักแหล่งโดยพื้นฐานของมนุษย์ธรรมที่สร้างรายได้ต่ำสุดสามอันดับคือ ผู้ลี้ภัยจากอัฟกานิสถาน 12,517 เหรียญ, จีน 14,169 เหรียญ และอิรัก 16,258 เหรียญ

660-14 nail the beauty3

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com

จิงโจ้นิวส์เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , , ,

Leave a Reply

Discover more from jingjonews

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading