㋊🦘 สู่เดือนพฤศจิกายน 2566 เล่าสู่กันฟัง : ที่มาของ ‘เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

1 พ.ย. 2023 สู่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๖

ดอกไม้ที่นำมาเสนอประจำสู่เดือนพฤศจิกายน 2023 เป็นดอก Clivia หรือว่านสิบแสน แต่ก่อนนั้นมีอยู่ริมทางเดินด้านซ้ายไปหลังบ้าน เจ้าของเดิมปลูกเอาไว้ยาวเหยียดไม่ต่ำกว่า 200 ต้น ถูกหลานชายและหลานสะใภ้เคลียร์พื้นที่เพื่อเปลี่ยนเป็นแปลงปลูกผักสวนครัวแทน หลงเหลืออยู่ไม่กี่ต้น ภาพนี้ถ่ายในวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา ผมว่ามันสวยดีนะ..

สภาพอากาศเดือนพฤศจิกายน 2023

เดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนที่สองของฤดูใบไม้ผลิ อากาศที่นครซิดนีย์มีอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ยที่ 15.7 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยที่ 23.6 องศาเซลเซียส

เดือนพฤศจิกายนจะมีช่วงกลางวันยาว 14 ชั่วโมง และช่วงรับแสงแดดเฉลี่ยวันละ 7.6 ชั่วโมง

เล่าสู่กันฟัง : เรื่องที่มาของแนวความคิด ‘เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท‘

เวทีหาเสียงเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย : เครดิตภาพ

เล่าสู่กันฟังนี้เป็นเรื่องเล่า ขออย่าได้ถือว่าเป็นเรื่องจริงจัง จากแนวความคิดที่มาของเงินดิจิทัลวอลเล็ต แจกคนไทยทุกชนชั้นตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป ที่ถูกนำมาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งจนครองใจประชาชน ทั้งที่น่าจะทราบว่าในโลกแห่งความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้

เมื่อไม่นานมานี้มีการแฉว่า นโยบายนี้พรรคเพื่อไทยไปลอกเอานโนยาย ‘แจกคูปองซื้อของ’ ของประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 25 ปีที่แล้ว เป็นช่วงที่โลกเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ญี่ปุ่นเองก็หนีไม่พ้น เจอช่วงภาวะฟองสบู่แตก ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หดตัวจาก 100 เหลือไม่ถึง 40%

ทำให้ญี่ปุ่นแก้ปัญหาด้วยการใช้นโยบายแจกคูปองประชาชนให้ไปซื้อสินค้าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในปี 1999 คนละ 20,000 เยน โดยมีกติกาต้องซื้อสินค้าภายใน 6 เดือน โดยจำกัดพื้นที่ซื้อสินค้า สิริรวมงบประมาณที่ใช้ทั้งสิ้น 6.2 แสนล้านเยน โดยหวังว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจจะกลับคืนมาหลายรอบ แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ได้กระตุ้นเศษฐกิจไดอย่างตามที่คาดหวังไว้

แล้วทำไมนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทของเพื่อไทยจะไม่ลอกมาจากออสเตรเลียบ้างล่ะ

มาถึงจุดนี้ผมจึงมีความคิดส่วนตัวว่า แล้วแนวความคิดนี้เพื่อไทยจะลอกมาจากออสเตรเลียไม่ได้หรือ? เพราะคุณทักษิณูผู้ใกล้ชิดพรรคเพื่อไทยมีกุนซือผู้รู้ใจคนหนึ่ง เป็นอาจารย์อยู่มหาวิทยาลัยระดับเพรสติกเอทของออสเตรเลีย (เดี๋ยวนี้เขาเรียกว่า The Group of Eight หรือ Go8) ผู้ให้คำปรึกษาความเมืองดุจขงเบ้งให้กับเล่าปี่

เมื่อครั้งที่ผู้นำคนหนึ่งของออสเตรเลียต้องมัวหมองกับเรื่องไม่ดีงามในราวต้นทศวรรษที่ 2000s เขาได้กล่าวถึงความผิดพลาดของเขาว่าเป็น ‘an honest mistake’ อีกไม่กี่วันต่อมาที่ประเทศไทย ผู้นำประเทศได้ใช้คำว่า ‘บกพร่องโดยสุจริต’ กับคดีซุกหุ้น

ในออสตรเลียก็มีการแจกเงินประชาชนครั้งใหญ่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำด้วยกัน 2 ครั้ง เข้าใจว่าในราวทศวรรษที่ 1990s และ 2000s (ขออภัยไม่มีเวลาค้น) ด้วยการแจกเงินให้กับกลุ่มเป้าหมาย (ตอนนั้นผมก็จนแต่ตกสำรวจ ในขณะที่หลานชายถือวีซ่านักรียนกลับได้รับแจกเงินกับเขาด้วยในรอบสอง) ในจำนวนคนละ 900 เหรียญ โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ได้รับเงินไปจับจ่ายซื้อสินค้า

ผลของนโยบายแจกเงินได้ช่วยให้ GDP ของออสตรเลียโตขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง แต่ได้ทิ้งหนี้สินจำนวนมหาศาลไว้ให้กับประเทศ

และต้องขอย้ำว่าการแจกเงิน 900 เหรียญทั้งสองครั้งอยู่ในช่วงประเทศเกิดวิกฤติทางเศรษฐิจอย่างแท้จริง ไม่ใช่แจกเงินเพื่อผลทางด้านประชานิยม ในช่วงที่ประเทศไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด

 

jingjonews.com
jingjonews@hotmail.com
จิงโจ้นิวส์เป็นสื่อออนไลน์มีวัตุถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย, บทความทั่วไป

Tags: , , , , , , ,

Leave a Reply

%d bloggers like this: