
ผลการศึกษาพบผู้อพยพใช้เวลารอนานกว่าผู้เกิดในออสเตรเลียในการขอความช่วยเหลือหลังเกิดอาการหัวใจวาย : ภาพป๊อปอาร์ตโดย jingjonews ต้นฉบับสถาบัน Victor Chang Cardiac Institute
6 ก.ย. 2023 หากคุณรู้สึกแน่นหน้าอกราวกับถูกช้างนั่งทับ, มีอาการปวดร้าวลงมาที่แขนของคุณและมีอาการเหงื่อแตกออกมา, หากคุณรู้สึกมึนศีรษะเหมือนว่าจะมีอาการหัวใจวาย คุณจะตัดสินใจโทรเรียกรถพยาบาลเมื่อไร
คำถามนี้หลายคนคิดว่าคำตอบของมันง่ายมาก ก็แค่รีบนำส่งโรงพยาบาลหรือโทรศัพท์หมายเลขฉุกเฉิน 000 ขอความช่วยเหลือทันที แต่ในสถานการณ์แห่งความเป็นจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น
จากการรวบรวมสถิติพบว่า ผู้ที่มาจากชุมชน CALD (ชุมชนที่มีภูมิหลังที่หลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา) จะมีระยะเวลารอทบทวนหลังจากมีอาการบ่งบอกครั้งแรกที่แตกต่างกันไป
ผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้อพยพมีความแตกต่างกัน ในการรอก่อนขอความช่วยเหลือหรือไปโรงพยาบาลเมื่อเกิดอาการเจ็บหน้าอก
ข้อมูลจากการเก็บสถิติคนไข้มีอาการหัวใจวาย พบว่าผู้อพยพที่มาจากแอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-Saharan Africa) จะใช้เวลารอคอยนานที่สุดถึง 6 ขั่วโมงเศษนับจากเกิดอาการครั้งแรก เมื่อเปรียบเทียบกับเวลารอโดยเฉลี่ยของคนไข้ทั้งหมดที่ 3.7 ชั่วโมง

ข่าวออนไลน์สำนักข่าว SBS วันที่ 16 กันยายน 2023 เสนอข่าว ผู้อพยพหลายคนรอคอยหลายชั่วโมงหลังจากเกิดอาการหัวใจวายจึงตัดสินใจขอความช่วยเหลือ ในขณะที่ผู้เกิดในออสเตรเลียจะรีบขอความช่วยเหลือโดยเร็ว จึงสมควรมีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้อพยพ
และสิ่งสำคัญที่สุด ระยะเวลาการตัดสินใจขอความช่วยเหลืออย่างล่าช้าเกิดขึ้นในกลุ่มผู้อพยพถึง 83% เมื่อเทียบกับคนไข้ที่เกิดในออสเตรเลียอยู่ในอัตราเพียง 48% เท่านั้น
สำหรับอัตราการรอเวลาของคนกลุ่มต่าง ๆ ก่อนขอความช่วยเหลือ หลังจากเกิดอาการครั้งแรกมีดังนี้
-กลุ่มผู้อพยพจากแอฟริกาใต้สะฮาราใช้เวลารอดูอาการโดยเฉลี่ย 4.5 ชั่วโมง
-กลุ่มผู้อพยพจากตะวันออกกลางใช้เวลารอดูอาการโดยเฉลี่ย 4.1 ชั่วโมง
-กลุ่มผู้อพยพจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เวลารอดูอาการโดยเฉลี่ย 3.9 ชั่วโมง
-กลุ่มผู้อพยพจากเอเชียใต้และเอเชียกลางใช้เวลารอดูอาการโดยเฉลี่ย 3.5 ชั่วโมง
ในทางตรงกันข้ามผู้ที่เกิดในออสเตรเลียจะใช้เวลารอดูอาการเพียงแค่ 1.5 ชั่วโมงเท่านั้น
jingjonews.com
jingjonews@hotmail.com (งดใช้ถูกคนอื่นยึดไปแล้ว)
Categories: ข่าวออสเตรเลีย
Leave a Reply