🐨 นักวิทยาศาสตร์พบความลับทำไมวอมแบตอึออกมาเป็นสี่เหลี่ยม

นักวิทยาศาสตร์ได้ไขปริศนาของตัววอมแบตสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องประจำถิ่นเซาท์ออสเตรเลียและเวสเทิร์นออสเตรเลียว่าทำไมมูลของพวกมันจึงเป็นทรงสีเหลี่ยมลูกบาศก์ : ภาพป๊อปอาร์ตโดยจิงโจ้นิวส์

25 ก.พ. 2023 วอมแบตสัตว์สัญลักษณ์ของรัฐเซาท์ออสเตรเลียได้ทิ้งคำถามให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกขบคิดมาอย่างยาวนานว่า ทำไมมูลของมันจึงเป็นทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ และขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งสามารถอธิบายสาเหตุได้แล้ว

ศาสตราจารย์ Scott Carver แห่งมหาวิทยาลัยแทสเมเนียเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกได้พบสาเหตุว่าทำไมวอมแบตถ่ายมูลออกมาจึงเป็นสี่เหลี่ยมทรงลูกเต๋า หลังจากพวกเขาได้แรงบันดาลใจจากปรากฎการณ์เย็นตัวลงของวัตถุจากภูเขาไฟ

นักวิทยาศาสตร์พบว่า วอมแบตมีระดับความแน่นอนของน้ำที่อยู่ภายในระบบย่อยของพวกมัน

ภาพมูลของวอมแบตออกมาเป็นก้อนสี่เหลี่ยมทรงลูกเต่า : ภาพนี้พบในสื่อฯหลายราย โดยภาพนี้นำมาจาก whyevolutionistrue.com

การมีระดับความชื้นพิเศษทำให้มูลของมันถูกกดทับกับผนังของระบบย่อย ก่อให้เกิดการแยกตัวจับกันเป็นก้อนสี่เหลี่ยมภายใน

การค้นพบเกิดขึ้นหลังจากนักวิทยาศาสตร์พิจารณารอยแตกสม่ำเสมอเป็นพิมพ์เดียวกันของชั้นหินหลังเกิดการเย็นตัวลงของวัตถุจากภูเขาไฟ อย่างเช่นแผ่นหินรูปหกเหลี่ยมที่ Giant’s Causeway ในประเทศไอร์แลนด์

แผ่นหินรูปหกเหลี่ยมที่ Giant’s Causeway ในประเทศไอร์แลนด์ : เครดิตภาพ Planet One – Universal

ทีมนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ในปี 2018 เคยได้รับรางวัลอิกโนเบล หรือ Ig Nobel Prize อันเป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผลงานทางวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัยที่เหลือเชื่อหรือไม่น่าจะเป็นไปได้ เช่นงานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการท้องผูกของแมลงป่องเกี่ยวข้องกับการหาคู่ เป็นต้น

ศ. Carver และกลุ่มเพื่อนนักวิทยศาลตร์นานาชาติได้พบว่ากระบวนการเกิดแผ่นหินรูปหกเหลี่ยมและมูลของวอมแบตเกิดขึ้นจากเหตุผลเดียวกัน

ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดสอบทฤษฎีของพวกเขาโดยผ่านส่วนผสมที่มีแป้งข้าวโพดผ่านถุงพลาสติกหลายขั้นตอนโดยมีการอัด บีบรัด บด ย่อย แยก โดยมีความร้อนจากแสงไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการคายน้ำ

ขบวนการเหล่านี้เป็นการจำลองระบบการย่อยของวอมแบตและสัตว์อื่น ๆ ที่ควบคุมระดับความชื้นและการคายน้ำคล้ายกัน ก่อนที่จะถ่ายมูลออกมา ผลออกมาเป็นสี่เหลี่ยม

ภาพมูลของตัววอมแบต : ปรากฎในหลายสื่อฯแต่ให้เดาต้นฉบับน่าจะมาจาก National Geographic เหตุที่นำมาลงเพราะเห็นที่รองมูลวอมแบตเป็นบัตรเจาะรู (Punch Card) แล้วนึกถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทย ที่จิงโจ้นิวส์ทันเรียนเป็นปีสุดท้ายก่อนถูกเก็บเข้าพิพิธพัณฑ์

ศ. Carver กล่าวว่าสัตว์ที่มีระดับน้ำ 70% ในมูลของมันจะถ่ายออกมาเป็น ‘เม็ด’ (pellets), ของเสียของมนุษย์ปกติจะมีระดับน้ำราว 75% อุจาระที่ถ่ายออกมาเป็น ‘ท่อนยาวกำลังงาม’ (rope), วัวมีระดับน้ำประมาณ 90% จึงถ่ายออกมาเป็น ‘กองเละๆ’ (puddle)

สำหรับตัววอมแบต (ที่ไม่ท้องเสีย) จะมีระดับน้ำ 65% และด้วยระบบย่อยที่พิเศษของมันทำให้มูลของมันออกมาเป็นก้อนแข็งทรงสี่เลี่ยมลูกบาศก์

 

jingjonews.com
jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , , , , ,

Leave a Reply

%d bloggers like this: