.
สู่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ / ดอกไม้ช่อสุดท้ายของเดือนมกราคม
ดอกไม้ช่อสุดท้ายที่บ้านก่อนเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ 2023
ออสเตรเลียเข้าสู่เดือนสุดท้ายของฤดูร้อนในเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนปีนี้ไม่ร้อนมากเป็นปีที่สามติดต่อกัน แถมยังมีฝนตกประปรายเป็นการสั่งลาปรากฎการณ์ลานีญาที่ก่อตัวอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก
วันนี้นึกขึ้นได้ว่าถึงคิวสู่เดือนกุมภาพันธ์ จึงรีบหยิบโทรศัพท์มือถือเดินรอบบ้าน เพื่อหาดอกไม้สวย ๆ นำมาลงปก พบแต่ดอกไม้เหี่ยวแห้งทั้งนั้น
เท่าที่พอดูได้เป็นดอกไฮเดรนเยีย (Hydrangea) มีผู้ตั้งชื่อภาษาไทยว่า ดอกหกเดือนบ้าง ดอกสามสีบ้าง บานอยู่ตรงบันใดหน้าบ้านเหลืออยู่ช่อเดียวที่ยังไม่เหี่ยว จึงนำมาลงแก้ขัด
ภาพนี้เป็นดอกกัมทรี (Gum Tree flower) ของเพื่อนบ้านที่มีลูกสาวสามใบเสา ในวันที่ 1 กุมภาพันธุ์หลงเหลืออยู่ช่อเดียวเหมือนกัน ถ้าถ่ายเก็บไว้ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม ดอกมันจะบานเต็มต้นสวยงามมาก และมีนกเล็ก ๆ สีสวย ๆ มาเจาะกินเกสร
ต้นไม้ต้นนี้คือต้นชะอม ปลูกอยู่อีกด้านหนึ่งของบ้าน ติดกับเพื่อนบ้านครอบครัวใหม่ที่เพิ่งย้านเข้ามาอยู่
หัวหน้าครอบครัวเป็นคนเอเชียทำงานเป็นวิศวกรบริหารในบริษัทด้านพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ไม่ค่อยสนิทกัน เพราะเขาเป็นคนเก็บตัว ได้ยินแต่เสียงเขาทำอะไรอยู่หลังบ้านอยู่บ่อย ๆ และเสียงลูกชายและลูกสาวในวันยังเล็กเล่นกันดังข้ามรั้วมา
รั้วด้านนี้สูงสองเมตรกว่ามองไม่เห็นกัน ผิดกับรั้วเพื่อนบ้านลูกสาวสามใบเถา สูงแค่หัวเข่าเท่านั้น
ฤดูหนาวที่ผ่านมานึกว่าต้นชะอมจะไม่รอด กิ่งใบร่วงหายเกือบหมดต้น ท่ามันจะชอบอากาศอบอุ่นไปถึงร้อน พอเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ มีลางบ่งบอกว่ามันจะไม่ตาย ผิวพรรณลำต้นดูเปล่งปลั่ง กิ่งใบเริ่มงอกออกมาอีกครั้ง
ในช่วงเดือนมกราคมมันออกใบอย่างรวดเร็ว อย่างที่เห็นนี้ ให้ได้เด็ดมาทำไข่เจียวผักชะอมไปแล้วสองมื้อ
มื้อต่อไปกะว่าจะทำแกงส้มปลาช่อน ว่าแต่ว่าปลาช่อนแถวบ้านไม่มีขาย เห็นทีต้องนั่งรถไฟไปซื้อที่ Cabramatta ถิ่นผู้อพยพพูดจีนแต๊จิ๋ว ที่นั่นมีแน่
Bangkok Blue Syndrome (โรคคิดถึงเมืองไทย)
มีชาวต่างชาติ รวมถึงชาวออสเตรเลีย พยายามใช้วลีนี้เพื่อ อธิบายของอาการของพวกเขาที่ถวิลหาอยากจะกลับไปประเทศไทย หลังจากไปเที่ยวมาแล้วติดใจเป็นหนักเป็นหนา
เพื่อนชาวออสซี่เคยถามผมว่า ไม่คิดจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่ประเทศไทยบ้างหรือ ขนาดพวกเขาเป็นชาวออสเตรเลีย ยังหาลู่ทางไปใช้ชีวิตหลังเกษียณในประเทศไทย
เพื่อนชาวออสซี่ของผมนับสิบคนเลือกไปอยู่ถาวรในประเทศไทย ส่วนใหญ่มุ่งไปอีสาน หลายคนแต่งงานกับคนท้องถิ่น มีลูกมีเต้ารุ่นใหม่เอาในยามแก่
เพื่อนผมคนหนึ่งหลังจากลาออกจากงาน เขาก็ขายบ้านริมอ่าวย่าน Balmain ขายเรือยอร์ชย้ายไปอยู่อีสานบ้านเรา
เขาซื้อบ้านโดยใช้ชื่อภรรยาของเพื่อนชาวออสซี่ของผมอีกคนหนึ่งในราคาประมาณสามล้านบาท โดยมีข้อตกลงกันว่า เขาจะได้สิทธิ์อยู่บ้านหลังนี้ตลอดไป เมื่อเขาตายไปบ้านหลังนี้จะตกเป็นของภรรยาของเพื่อน ซึ่งชายออสเตรเลียสองคนนี้น่าจะไปสู่ที่ชอบก่อนหญิงสาวชาวไทย ถ้าถือตามเกณฑ์อายุที่ห่างไกลกัน
เพื่อนผมบอกว่าคำนวณดูแล้วถูกกว่าเช่าบ้านอยู่ ที่เขาเคยเช่าอยู่มาก่อนหน้านี้
จะว่าไปแล้วผมเสียดายโอกาสของประเทศไทยที่จะได้บุคลากรในวัยหกสิบเศษคนนี้ เพื่อนคนนี้เคยทำงานเป็นผู้อำนวยการดูแลด้านการเงินของคณะกรรมการจัดการแข่งขั่นกีฬาโอลิมปิกปี 2000 ที่นครซิดนีย์เป็นเจ้าภาพ หลังจบโปรเจ็กนี้เขาทำงานเป็นผู้บริหารของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่หนึ่งในสองของโลก
ผมเชื่อว่าคุณวุฒิการศึกษา ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ของเขา เกินพอที่จะเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของประเทศไทยได้อย่างสบาย
กลับมาที่ตัวผม กับคำถามไม่คิดจะกลับไปประเทศไทยหรือ?
ที่ผ่านมาบ่อยครั้งที่ผมถามตัวเองว่า ผมมาอยู่ที่นี่ทำไม ญาติมิตรก็อยู่ที่เมืองไทย มิตรใหม่ชาวออสซี่ก็แห่ไปใช้ชีวิตในประเทศไทย ผม
jingjonews.com
jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)
Jingjonews เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์
Categories: ข่าวคนไทยในออสเตรเลีย, ข่าวออสซี่ในเมืองไทย, ข่าวออสเตรเลีย, บทความทั่วไป
Leave a Reply