
Forbes Asia’s 2022 Heroes of Philanthropy : ภาพป๊อปอาร์ตโดยจิงโจ้นิวส์
14 ธ.ค. 2022 เนื้อข่าวนี้เป็นข่าวต่อจากข่าว “สามออสซี่ติดท็อป 15 คนใจบุญที่สุดแห่งเอเชีย-แปซิฟิก 2022” ที่นำเสนอไปเมื่อวาน แต่ไม่สามารภเติมเข้าไปในข่าวเดิมได้ เนื่องจาก edit ไม่ทำงาน และฟังชั่นแทบทั้งหมดไม่ทำงาน แต่ยังให้โพสต์ข่าวใหม่ได้เท่านั้น
กำลังอยู่ระหว่างขอความช่วยเหลือจาก wordpress เข้าใจว่าปัญหาอยู่ที่ฝ่ายจิงโจ้นิวส์ #ที่ผ่านมาอุตส่าห์ซื้อเครื่อง Apple รุ่นใหม่ เพื่อแก้ปัญหาเดิม แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้ ตอนนี้เริ่มท้อแล้ว
อันดับ 9 นาย Lindsay Fox และนาง Paula Fox

นาย Lindsay Fox และนาง Paula Fox ผู้ก่อตั้งบริษัท Linfox : เครดิตภาพนิตยาสาร Forbes
นาย Lindsay Fox วัย 85 ปีเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Linfox ในขณะ Paula ภรรยาวัย 83 ปีของเขาทำหน้าที่ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิ Fox Family Foundation บริจาคเงิน 67 ล้านเหรียญสหรัฐ (150 เหรียญออสเตรเลีย) สมทบทุนสร้างหอศิลปะร่วมสมัยที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลียที่ National Gallery of Victoria (NGV) โดยใช้ชื่อว่า The Fox : NGV Contemporary มีเนื้อที่ 13,000 ตารางเมตรเพื่อเป็นพื้นที่จัดการแสดง, ห้องปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ศิลปกรรมและมีระเบียงบนชั้นดาดฟ้าเพื่อชมความงามของนครเมลเบิร์น โดยมีกำหนดปิดในปี 2028
ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ศูนย์ตรวจและบำบัดโรคมะเร็งผิวหนังมูลค่า 152 เหรียญออสเตรเลียที่โรงพยาบาล Alfred Hospital ในนครเมลเบิร์นได้รับการตั้งชื่อว่า ‘Paula Fox Melanoma and Cancer Centre’ เพื่อเป็นเกียรติแก่ Paula ผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งผิวหนัง เธอและสามีได้บริจาคเงินเป็นการส่วนตัว (น่าจะก้อนใหญ่) ให้กับศูนย์นี้ ซึ่งมีขีดความสามารถรับตรวจและรักษาคนไข้ได้ 300 คนต่อวันด้วยห้องตรวจอันทันสมัย 25 ห้องของศูนย์ โดยมีกำหนดเปิดบริการในปี 2024
อันดับ 10 นาย Joon Wanavit

นาย Joon Wanavit (จุน วนวิทย์) ผู้ก่อตั้งบริษัท Hatari Electric : เครดิตภาพนิตยาสาร Forbe
Forbe กล่าวถึงนาย Joon วัย 85 ปีว่า นาย Joon Wanavit (จุน วนวิทย์) ผู้ก่อตั้งบริษัท Hatari Electric ผู้ผลิตพัดลมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เขาและครอบครัววนวิทย์ได้บริจาคเงิน 900 ล้านบาท (24 ล้านเหรียญสหรัฐ) ให้กับมูลนิธิของโรงพยาบาลรามาธิบดี
แยกเป็นเงินจำนวน 160 ล้านบาทเพื่อให้กับวิทยาลัยพยาบาลของโรงพยาบาล, 300 ล้านบาทสำหรับศูนย์การเรียนทางการแพทย์และ 440 ล้านเหรียญสำหรับการสร้างอาคารโรงพยาบาลหลังใหม่และศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์
Forbe ได้โค้ดคำพูดของนาย Joon ผู้ทำตัวไม่ให้อยู่ในความสนใจของสังคมว่า “ลูก ๆ ของผมมีอาชีพและเงินของเขาแล้ว ผมต้องการบริจาคเงินกลับคืนสู่สาธารณชนทั่วไปที่เจ็บไข้ได้ป่วย”
นาย Joon เริ่มต้นอาชีพจากการตั้งร้านรับซ่อมพัดลมไฟฟ้าเล็ก ๆ ก่อนที่จะขยายไปรับสัญญาผลิตพัดลมในแบรนด์ของประเทศยี่ปุ่น จากนั้นจึงหันมาผลิตพัดลมในแบรนด์ Hatari Electric เป็นของตนเอง
ในปีที่ผ่านมาบริษัทของเขามีมูลค่า 6.3 พันล้านบาท
jingjonews.com
jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)
Categories: ข่าวออสเตรเลีย
Leave a Reply