
กุ้งสินค้าจากประเทศไทยถูกระบุว่าเป็นผลผลิตจากทาสแรงงานยุคใหม่ : ภาพป๊อปอาร์ตโดยจิงโจ้นิวส์
20 พ.ย. 2022 องค์กร NGO ออกมาเตือนว่า ถ้าท่านสวมเสื้อผ้าผลิตจากจีน, สวมถุงมือยางจากมาเลเซียและรับประทานอาหารทะเลจากประเทศไทย ขอให้เชื่อได้ว่าท่านอาจสนับสนุนการใช้ทาสแรงงานยุคใหม่
(หมายเหตุ เนื้อหาของบทความข่าวนี้โปรดอ่านโดยพิจารณา เพราะอาจมีจุดประสงค์อื่นซ้อนเร้นอยู่เบื้องหลัง)
จากความร่วมมือทำการศึกษาวิจัยระหว่างองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและสถาบันการศึกษาพบว่าสินค้าจากสามประเทศที่กล่าวมานี้เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน
รายงานภายใต้ชื่อ Broken Promises ระบุว่าแรงงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยได้จับแรงงานกักกันอยู่ภายในเรือเป็นเวลาหลายปีเพื่อบังคับใช้เป็นทาสแรงงาน
ดังนั้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง กิจกรรมโยนกุ้งลงในเตาปิ้งบาร์บีคิวทุกครั้งให้รำลึกเสนอว่า “พวกคุณได้สนับสนุนการใช้ทาสแรงงาน”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Martijn Boersma ผู้อำนวยโครงการการค้ามนุษย์และทาสแรงงานยุคใหม่ (HTMSP) แห่งมหาวิทยาลัยนอเทรอดามออสเตรเลีย (UNDA) กล่าวว่า กุ้งเป็นอาหารรับประทานตามประเพณีของชาวออสเตรเลียในช่วงเทศกาลคริสต์มาส
เขากล่าวว่าบริษัทออสเตรเลียที่นำเข้ากุ้งจากประเทศไทย ขาดการค้นคว้าถึงการใช้ทาสแรงงานในประเทศไทย ซึ่งบริษัทเหล่านี้ควรเข้าไปศึกษาหาข้อมูลใน Google อย่างถี่ถ้วนเสียก่อน
(หมายเหตุ ขออนุญาตเสริม ข้อมูลที่ผศ. Boersma เป็นข้อมูลถูกต้องในก่อนปี 2016 แต่การกดขี่แรงงานในอุตสาหกรรมประมงค์ของไทยได้ถูกแก้ไขในระดับหนึ่ง จนรัฐบาลไทยสามารถเร่งรัดปัญหาการละเมิดสิทธิและการค้ามนุษย์ได้อย่างน่าพอใจจนสามารถเลื่อนจากการถูกจัดอันดับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจาก Tier 3 มาอยู่ในระดับ Tier 2 ในปีดังกล่าว และดีขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันจนได้รับรางวัล “TIP Report Hero” ในเดือนกรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมา ดังนั้นข้อมูลของม. UNDA อาจกล่าวได้ว่าเป็น fake news หรือนำข้อมูลล้าสมัยมาใช้)

ข่าวออนไลน์สำนักข่าว SBS วันที่ 20 พฤศจิกายน 2022 เสนอข่าว อาหารทะเล, ถุงมือยางและผลส้มที่ท่านซื้อในออสเตรเลียอาจเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานทาสยุคใหม่
Broken Promises รายงานต่อถึงสินค้าที่ีอยู่ในความเสี่ยงใช้แรงงานทาสยุคใหม่คือสินค้าทุกชนิดที่มาจากเขตการปกครองซินเจียง (Xinjiang) ในประเทศจีน เกี่ยวข้องกับการใช้ทาสแรงงานคนกลุ่มน้อยนับถือศาสนามุสลิมเชื้อสายอุยกูร์ (Uyghur)
ที่เขตปกครองซินเจียงผลิตฝ้าย 80% ของประเทศจีน และอยู่ใน 20% ของการผลิตทั่วโลก
#ผศ. Boersma กล่าวว่าการซื้อเสื้อผ้าทำจากผ้าฝ้ายผลิตจากประเทศจีน เท่ากับว่ามีโอกาสสนับสนุนแรงงานทาสสูงมาก
สินค้าต่อมา ถุงมือยางจากมาเลเซียเป็นอีกสินค้าหนึ่งที่ถูกรายงานว่า ยังคงใช้แรงงานถูกกดขี่อย่างแพร่หลายในปี 2022
สหรัฐอเมริกาได้สั่งห้ามนำเข้าสินค้าถุงมือยางจากมาเลเซียโดยอางถึงหลักฐานการบังคับใช้แรงงานในประเทศดังกล่าว
รายงานชุด Broken Promises ยังตามล่าบริษัทที่ให้การสนับสนุนสินค้าที่เสี่ยงต่อการใช้ทาสแรงงานยุคใหม่
ซึ่งไม่เพียงบริษัทขนาดเล็กเท่านั้น บริษัทขนาดใหญ่อย่างเครือห้างสรรพสินค้า David Jones ก็ถูกโจมตีต่อการสนับสนุนแรงงานทาสกับสินค้าในภาคพืชสวน
นาย Scott Fyfe ผู้อำนวยการบริหารของ David Jones ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า บริษัทได้ฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจถึงสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อการใช้ทาสแรงงาน ก่อนนำเข้ามาวางจำหน่าย หากพบว่ามีสินค้าใดได้เล็ดลอดเข้ามาก็จะนำออกจากแผงขายทันที
jingjonews.com
jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)
Categories: ข่าวออสเตรเลีย
Leave a Reply