คนรุ่น Gen Y ศรัทธาในประชาธิปไตยน้อยลงเมื่อเทียบกับคนรุ่นพ่อรุ่นปู่

ภาพแสดงช่วงปีเกิดของคนในรุ่นต่าง ๆ : เครดิตภาพนิตยสาร Forbes

22 ต.ค. 2020 การศึกษาพบว่าคนรุ่น Gen Y หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Millenennial ในออสเตรเลียเริ่มเสื่อมความนิยมระบอบของรัฐบาลประชาธิปไตยมากกว่าคนรุ่นก่อนหน้านี้จากความทรงจำในวัยหนุ่มสาวของพวกเขา

ผลการสำรวจประชากรทั่วโลกเกือบ 5 ล้านคน คนรุ่น Gen Y ซึ่งเกิดในระหว่างปี 1981 ถึง 1995 ในช่วงระหว่าง 20 ปีเศษถึง 30 ปีเศษพวกเขามีความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยน้อยกว่าคนรุ่นพ่อแม่หรือรุ่นปู่ย่าตายายในช่วงเวลาที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวเหมือนกัน

ความเชื่อนี้ไม่เพียงเกิดขึ้นในออสเตรเลียแต่ยังเกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยแองโกล-แซกซอนของสหราชอาณาจักรและระบอบประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา

การสำรวจยังพบว่าแนวโน้มนี้ยังพบในประเทศในแถบลาตินอเมริกา, ในแอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-Saharan Africa) และในยุโรปใต้อีกด้วย

ดร. Robert Foa หัวหน้าคณะวิจัยจากศูนย์แห่งอนาคตของประชาธิปไตยแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวว่า Gen Y ถือเป็นกลุ่มคนรุ่นแรกของผู้ที่มีชีวิตอยู่จนบัดนี้สามารถจะจำได้ (within living memory) ที่ไม่พอใจการทำงานของระบอบประชาธิปไตยในขณะที่พวกเขาอายุ 20 ปีเศษถึง 30 ปีเศษ

จากการศึกษาทำให้สามารถประเมินได้ว่าประชากร 1.6 พันล้านคนจาก 2.3 พันล้านคนในประเทศที่ทำการสำรวจหรือคิดเป็น 7 ใน 10 เป็นประเทศเริ่มมีความเสื่อมศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง

ดร. Foa ย้ำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้หมายความว่าผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงจะสนับสนุนทางเลือกอื่นโดยปริยาย แต่พวกเขาหงุดหงิดที่ระบบนี้ไม่เวิร์คสำหรับพวกเขา

ส่วนสาเหตุที่เกิดขึ้นในหลายประเทศก็คือ การทำงานของระบอบประชาธปไตยยิ่งนานวันความมั่งคั่งและรายได้ (wealth and income) ของประชากรจะเสื่อมถอยลง ซึ่งออกมาในรูปแบบเดียวกันในหลายประเทศ

ยกตัวอย่างในออสเตรเลียในช่วงของคนรุ่น Baby Boomer หรือผู้เกิดในปี 1946 ถึง 1964 ถือเป็นประชาธิปไตยของยุคประชาผาสุก เป็นยุคประชากรกินดีอยู่ดี โจรผู้ร้ายไม่มี จนมีผู้เฒ่าแห่งยุค the Baby Boomer เล่าให้ลูกหลานฟังว่า ในยุคของเขาหากไปไหนสักสัปดาห์ ทิ้งบ้านเปิดประตูไว้ กลับมาข้าวของยังเหมือนเดิม

ในยุค Gen X หรืือผู้เกิดระหว่างปี 1965 ถึง 1980 เป็นยุคค่าครองชีพต่ำ ประชากรกินดีอยู่ดี คนเกิดในรุ่นนี้ยังพอได้เห็นทางการจัดระบบการศึกษาอุดมศึกษาฟรี (คนต่างชาติก็เรียนฟรี) จบมาไม่กี่ปีก็สร้างครอบครัว มีบ้านเป็นของตนเอง โดยหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ออกไปหางานทำเพียงคนเดียว ด้วยหลักการใช้ชีวิตนอนหลับพักผ่อน 8 ชั่วโมง ทำงาน 8 ชั่วโมงและนันทนาการ 8 ชั่วโมง เสาร์-อาทิตย์ไปโบสถ์ฟังธรรมและท่องเที่ยว ราคาที่อยู่อาศัยต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยรวมกันไม่ถึง 5 ปี ราคาบ้านแถว Centennial Park ต่ำกว่า 400,000 เหรียญยังหาซื้อได้

มาถึงยุค Gen Y หรือ Millenennial เมื่ออายุผ่านวัยยี่สิบเศษเมื่อจบการศึกษาพวกเขาก็จะมีหนี้เงินกู้โครงการสนับสนุนการศึกษาหรือ HECS ในปัจจับันคือ HELP เงินกู้นี้จะถูกปรับเพิ่มขึ้นทุกปีตามค่าธรรมเนียมการศึกษาที่รัฐบาลประชาธิปไตยไม่มีทางเลือกอื่นจำต้องผลักภาระให้ผู้เรียนรับไปตามต้นทุนที่สูงขึ้นในแต่ละปี ราคาที่อยู่อาศัยสูงกว่ารายได้เฉลี่ยรวมกันหลายสิบปี ราคาบ้านหลังงามแถว Centennial Park ในปัจจุบันหากมีเงิน 5 ล้านเหรียญก็หาซื้อไม่ได้แล้ว

หมายเหตุ โปรดอ่านด้วยวิจารณญาณเนื่องจากเป็นผลงานทางวิชาการ

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)

jingjonews เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , ,

Leave a Reply

Discover more from jingjonews

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading