นักศึกษาต่างชาติพยายามจะเข้าใช้เงินซูเปอร์ฯกลับพบว่าน้ายจ้างไม่เคยจ่าย

ข่าวออนไล์สำนักข่าว SBS วันที่ 4 ก.ค. 2020 Andre นักศึกษานานาชาติพยายามเข้าใช้เงินกองทุนซูเปอร์ฯ แต่เขามารู้ว่านายจ้างไม่ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีกองทุนของเขาเลย

4 ก.ค. 2020 กำลังเป็นปัญหาหลังจากรัฐบาลกลางเปิดโอกาสให้ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวสามารถเข้าใช้เงินกองทุนสะสมเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุงานหรือซูเปอร์ฯในช่วงวิกฤติไวรัส COVID-19 ระบาดเพราะเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางไม่ได้รวมพวกเขา แต่สิ่งที่ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวโดยเฉพาะนักศึกษาต่างชาติคาดไม่ถึงก็คือนายจ้างหลายรายไม่ได้ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินสะสมฯของพวกเขา

นาย Andres Puerto (คนในภาพ) วัย 27 ปีนักศึกษาจากประเทศโคลัมเบียคือหนึ่งในเหยื่อของการฉ้อฉลเงินซูเปอร์ฯ เมื่อเขามีความจำเป็นต้องใช้เงินจากกองทุนเพื่อประทังชีวิตในต่างแดน แต่กลับพบว่านายจ้างไม่เคยนำเงินเข้าบัญชีกองทุนของเขา

นาย Puerto อาศัยอยู่ในนครซิดนีย์มาเป็นเวลา 3 ปี ปัจจุบันศึกษาปริญญาโทสาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจที่มหาวิทยาลัยทอร์เรนส์ (มหาวิทยาลัยเอกชนที่เพิ่งก่อตั้งในปี 2013)

ในระหว่างศึกษานาย Puerto ได้ทำงานที่คาเฟ่และร้านขายหนังสือซึ่งมีเจ้าของคนเดียวกันเป็นเวลา 2 ปี แต่เมื่อเกิดไวรัส COVID-19 ระบาดเขาต้องตกงาน

ในฐานะผู้ถือวีซ่านักเรียนเขาไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือ JobKeeper หรือ JobSeeker จากรัฐบาลกลาง สิ่งเดียวที่ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวที่รัฐบาลเปิดทางให้ก็คือใช้เงินจากกองทุนซูเปอร์ฯ

แต่เขากลับพบว่าบัญชีเงินกองทุนสะสมฯจำนวน 3,500 เหรียญที่เขาควรได้รับ นายจ้างของเขาไม่เคยโอนเข้าบัญชีเลยแม้แต่เซนต์เดียว

นาย Puerto ได้ติดต่ออดีตนายจ้างทั้งโทรศัพท์, ส่งข้อความ sms และอีเมล์ แต่ไม่ได้รับการตอบกลับ

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา นายจ้างแจ้งแก่เขาว่า เขาล้มละลายและกำลังสะสางปัญหาต่าง ๆ พร้อมรับปากจะคืนเงิน(ซูเปอร์ฯ)ให้กับเขา

แต่ถึงวันนี้เขาก็ยังไม่ได้รับ

ในเดือนเมษายนรัฐบาลกลางได้อนุญาตให้ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 สามารถเข้าใช้เงินกองทุนสะสมฯได้ไม่เกิน 10,000 เหรียญก่อนที่จะสิ้นสุดวันสิ้นปีการเงิน (30 มิ.ย. 2020)

ข่าวออนไล์สำนักข่าว SBS วันที่ 1 ก.ค. 2020 เสนอข่าว นับจากวันพุธ(ที่ 1 ก.ค. 2020) ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวจะไม่สามารถยื่นขอถอนเงินซูเปอร์ฯนำมาใช้ล่วงหน้าได้อีกต่อไป

นักศึกษาต่างชาติอีกคนหนึ่งผู้ขอสงวนนามได้นำหลักฐานใบจ่ายค่าแรง (payslips ) แสดงรายละเอียดการจ่ายเงินเข้ากองทุนฯในทุกครั้ง แต่ในความเป็นจริงมันไม่เคยเกิดขึ้นเลย

นาง Sharmilla Bargon  จาก Redfern Legal Centre  กล่าวว่าที่ผ่านมามีนักศึกษาต่างชาติมาขอความช่วยเหลือในเรื่องเงินซูเปอร์ฯนับวันยิ่งมากขึ้น

เธอกล่าวว่าเมื่อนายจ้างคิดจะโกงลูกจ้าง วิธีที่ง่ายและมีโอกาสรอดสูงก็คือกระทำกับลูกจ้างที่เป็นนักศึกษาต่างชาติ ซึ่งอยู่อาศัยในประเทศไม่นานและมักไม่ค่อยสนใจเงินสะสมเนื่องจากมีจำนวนไม่มาก

ภายใต้กฎหมาย นักศึกษาต่างชาติสามารถของปิดบัญชีเงินสะสมฯได้ เมื่อพวกเขาถึงเวลาที่จะเดินทางกลับประเทศเป็นการถาวร ณ จุดนี้ทำให้พวกเขาไม่มีเวลาเพียงพอที่จะเรียกร้องเอาเงินที่ยังไม่ได้จ่ายกลับคืนมา

แต่ถึงแม้จะมีผู้พยายาม เขาก็ต้องพบหนทางที่ยุ่งยากและยาวไกล ซึ่ง Redfern Legal Centre เคยมีประสบการณ์กับความยากลำบากต่าง ๆ นานาในการเป็นตัวแทนเรียกร้องเงินจนกว่าจะได้ใช้ชนะ

ทางด้านสำนักงานภาษีออสเตรเลีย (ATO) กล่าวว่าสำนักงานถือการไม่โอนเงินเข้ากองทุนเป็นเรื่องร้ายแรง

ในช่วงครึ่งปีแรกของปีการเงิน 2019-20 ATO ได้ติดต่อให้นายจ้างกว่า 9,000 รายนำเงินเข้าบัญชีกองทุนจำนวน 406.5 ล้านเหรียญหลังจากได้รับการร้องเรียน

พร้อมกับเรียกร้องให้ลูกจ้างรายงานต่อ ATO หากพบว่านายจ้างละเลยไม่โอนเงินเข้ากองทุนสะสมฯของลูกจ้าง

และได้แนะนำให้นักศึกษาต่างชาติตรวจเช็คใบจ่ายค่าแรง, ติดต่อบริษัทดูแลเงินกองทุนซูเปอร์ฯและทำความเข้าใจถึงสิทธิของตน

นาง Bargon ได้กล่าวถึงแอพพลิเคชั่นหลายภาษา ​My Legal Mate ซึ่งให้บริการฟรีแก่นักศึกษต่างชาติในรัฐน.ซ.ว.ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา  ด้วยบริการข้อมูลกฎหมายส่วนตัวในหัวข้อต่างๆ รวมถึงการจ้างงาน, การเช่าที่พักอาศัยและกองทุนเงินสะสมฯ

สำนักงานภาษีกล่าวว่าถึงขณะนี้มีผู้ถือวีซ่าชั่วคราวขอเบิกเงินจากกองทุนซูเปอร์ฯไปใช้แล้วทั้งสิ้น 975 ล้านเหรียญแก่ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นนักศึกษาต่างชาติจำนวนเท่าได้  สามารถบอกได้แต่เพียงว่ามีผู้อยู่ในวัย 20 ถึง 25 ปีซึ่งเป็นช่วงอายุของนักศึกษาส่วนใหญ่ได้ขอเบิกไปใช้จำนวน 220 ล้านเหรียญ

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)

Jingjonews เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , , , ,

Leave a Reply

%d bloggers like this: