พบนักเรียนต่างชาติถูกเอาเปรียบค่าจ้างจนกลายเป็นทาสค่าแรงยุคใหม่

ข่าวออนไลน์สำนักข่าว SBS วันที่ 2 ก.ค. 2020 เสนอข่าว Calolina นักศึกษาต่างชาติคือหนึ่งในหลายพันคนที่ค่าแรงของเธอถูกขโมยโดยนายจ้างในออสเตรเลีย

3 ก.ค. 2020 ผลการศึกษาในหัวข้อ International Students and Wage Theft in Australia ทำการสำรวจนักศึกษาต่างชาติกว่า 5,000 คนพบคำตอบที่ FWO (สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อการจ้างงานที่เป็นธรรม) ทราบแล้วต้องคิดหนัก

รายงานชุดนี้จัดทำโดยผศ. Laurie Berg  แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ (UTS) ร่วมกับผศ. Bassina Farbenblum  แห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (UNSW) จากการสำรวจในช่วงระหว่างวันที่ 9 เมษายนถึง 30 พฤษภาคมปี 2019

พบว่ามีนักศึกษาจำนวน 77% ได้รับค่าจ้างในอัตราต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ในขณะที่ 26% ได้รับค่าแรงเพียงแค่ 12 เหรียญต่อชั่วโมงหรือน้อยกว่า

สองในสามของจำนวนนี้ไม่ได้ขอความช่วยเหลือหรือร้องเรียนหน่วยงานที่รับผิดชอบ, 48% ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะพวกเขากลัวจะถูกไล่ออกจากงานและอีก 38% ไม่ต้องการให้กรณีนี้มากระทบต่อวีซ่าของพวกเขา

สำนักข่าว SBS ได้ยกตัวอย่าง Carolina (นามสมมุติ) วัย 20 ปีเศษจากประเทศฮอนดูรัส เธอกล่าวว่าออสเตรเลียคือประเทศในอุดมคติของเธอในการได้มาศึกษา, ค้นหาและทำงาน แต่เธอกลับมาพบกับสิ่งที่เธอไม่ได้คาดคิดไว้มาก่อน

Carolina เคยทำงานที่ร้านอาหารและคาเฟ่ในนครซิดนีย์เป็นเวลาเกือบ 18 เดือนในตำแหน่งบาริสต้าและพนักงานเสิร์ฟในขณะศึกษาวิชาความเป็นผู้นำและการจัดการที่ SELC Australia วิทยาลัยเอกชนในย่านธุรกิจใจกลางนครซิดนีย์

ก่อนเกิดไวรัสโคโรนา 2019 ระบาดเธอได้รับค่าแรง 20 เหรียญต่อชั่วโมงซึ่งต่ำกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว เมื่อเกิดไวรัสระบาดร้านอาหาร-คาเฟ่ประสบปัญหาเนื่องจากรัฐบาลใช้มาตรการปลดล็อค ค่าแรงของเธอถูกนายจ้างลดเหลือ 11 เหรียญต่อชั่วโมง

นายจ้างได้บอกกับเธอว่ายอดขายตกลงมาก จึงขอลดค่าแรงเหลือชั่วโมงละ 11 เหรียญ ซึ่งเธอต้องยินยอมรับข้อเสนอ มิฉะนั้นเธอก็จะเป็นคนตกงานไม่มีรายได้ใด ๆ และไม่สามารถหางานอื่นมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องในช่วงที่ธุรกิจซบเซา

ซึ่งเรื่องราวของ Carolina ไม่ได้เกิดกับเธอคนเดียว แต่เกิดกับนักศึกษาต่างชาติร่วมชะตากรรมอีกหลายหมื่นคน

ศจ. Farbenblum กล่าวว่าผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมปล้นค่าแรงนักศึกษาต่างชาติโดยนายจ้างยังคงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและเป็นสิ่งปฏิบัติกันอย่างปกติ

เธอกล่าวว่านักศึกษาส่วนใหญ่เหมือนกับ Carolina คือไม่กล้าพูดหรือรายงานให้ทางการรับทราบ แนวโน้มเหล่านี้ทำให้นายจ้างได้ใจจ่ายค่าแรงต่ำว่ากฎหมายกำหนดแล้วพวกเขาก็รอดพ้นจากการถูกดำเนินคดี  แล้วในที่สุดพฤติกรรมเช่นในก็จะเข้าไปสู่การเป็นทาสค่าแรงงานยุคใหม่ (modern slavery)

ศจ. Farbenblum ได้เรียกร้องให้รัฐบาลกลางยกเลิกการขยายชั่วโมงทำงานของนักศึกษาต่างชาติจากเดิม 20 ชั่งโมงต่อสัปดาห์เป็น 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในช่วงวิกฤติไวรัส COVID-19 เพราะมันได้ก่อให้เกิดการกดขี่แรงงาน พร้อมกับเรียกร้องให้จัดตั้งคณะอนุญาโตตุลาการด้านการเรียกร้องค่าจ้างขึ้นมาโดยเฉพาะ

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)

Jingjonews เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , , ,

Leave a Reply

%d bloggers like this: