
ข่าวออนไลน์นสพ. The Age วันที่ 12 พ.ค. 2020 เสนอข่าวปริศนาโรคระบาด : 5 ปัจจัยที่อาจอธิบายได้ว่าทำไมบางชาติจึงย่ำแย่กว่าชาติอื่นในการรับมือกับ COVID-19
12 พ.ค. 2020 หนังสือพิมพ์ในเครือ Nine Entertainment (เจ้าของเดิมคือ Fairfax) ได้รายงานผลการศึกษาหลายร้อยชุดทั่วโลกถึงสาเหตุการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 แต่ยังไม่มีรายงานชุดใดสามารถสรุปได้
เป็นต้นว่าอิหร่านมีผู้ติดเชื้อ 110,000 คนและมีผู้เสียชีวิต 6,700 คน ในขณะที่อิรักซึ่งอยู่ติดกันมีผู้ติดเชื้อเพียง 2,800 คนและเสียชีวิตเพียง 110 คนเท่านั้น
ในขณะที่เมืองใหญ่ที่เป็นนครหลวงของโลกอย่างนิวยอร์ก, ลอนดอนและปารีสมีผู้ติดเชื้อและล้มตายระเนระนาดจนน่าสังเวชตา แต่ในกรุงเทพมหานครซึ่งก่อนหน้านั้นถูกมองว่าจะมีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคนกลับมีผู้เสียชีวิตเพียง 24 รายเท่านั้น
บ้างก็อ้างเป็นเพราะไวรัส COVID-19 ไม่ชอบอากาศร้อน จึงทำให้ประเทศในยุโรปและสหรัฐมีการระบาดอย่างหนัก แต่อินโดนีเซีย, บราซิล, เปรูและเอกวาดอร์ต่างเป็นประเทศในเขตร้อนทั้งสิ้น ก็มียอดผู้ติดเชื้อในระดับต้น ๆ ของโลกเช่นกัน
บางรายอ้างการประกาศใช้มาตราการรักษาระยะห่างทางสังคมและการปิดประเทศตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถหยุดยังไม่ให้เชื่อไวรัสแพร่กระจายได้ แต่พม่าและกัมพูชาต่างไม่ใช้กฎดังกล่าวด้วยกันทั้งคู่กลับมีผู้ติดเชื้อเพียงระดับ 100 คนเศษเท่านั้น
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญโรคติดต่อ, นักสาธารณสุขศาสตร์, นักระบาดวิทยาและนักวิชาการกว่า 20 คนได้สรุปปัจจัย 5 ประการที่อธิบายว่าประเทศไหนเจอไวรัส COVID-19 คุกคามอย่างหนักและประเทศไหนเจอแบบเบาะ ๆ ดังนี้
พลังของคนหนุ่มสาว
นักวิชาการเชื่อว่าหลายประเทศรอดพ้นการระบาดของไวรัส COVID-19 เพราะเป็นประเทศที่มีคนหนุ่มสาวจำนวนมาก คนหนุ่มสาวเมื่อติดเชื้อไวรัสจะไม่ออกอาการและการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่นอยู่ในระดับต่ำ
ประเทศไทยและเมืองนาจาฟของอิรักถูกพบว่ากลุ่มผู้ติดเชื้อมากที่สุดคือกลุ่มอายุ 20 ถึง 29 ปี ซึ่งเมื่อติดเชื้อแล้วจะไม่แสดงอาการ โอกาสผ่านเชื้อไปสู่คนอื่นจึงมีไม่มากนัก
ในทางตรงกันข้ามในอิตาลีกลุ่มคนวัยกลางคนตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มที่ติดเชื้อมากที่สุด คนเหล่านี้ติดเชื้อแล้วแสดงอาการที่สามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้อย่างรวดเร็ว
การรักษาระยะห่างทางวัฒนธรรม (cultural distance)
ปัจจัยทางวัฒนธรรมได้ทำให้คนในประเทศนั้น ๆ ทิ้งระยะห่างกัน เช่นคนไทยและคนอินเดียจะทักทายกันด้วยการพนมมือไหว้ ในขณะที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ใช้การคำนับ นอกจากน้นพวกเขายังสวมหน้ากากอนามัยเมื่อพวกเขารู้สึกไม่สบาย (อันนี้นักวิชาการตะวันตกยังไม่เข้าใจว่าทำไมคนเอเชียถึงได้สวมหน้ากาก คงต้องปล่อยให้เป็นบัวใต้น้ำกันต่อไป)
ประเทศกำลังพัฒนายังดูแลคนชราภายในบ้านของครอบครัว ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะนำคนชรามาอยู่รวมกันในสถานดูแลคนชรา ที่ล่อแหลมต่อการติดและแพร่กระจ่ายเชื้อ
อากาศร้อนและแสงแดด
นักวิซาการเชื้อว่าไวรัส COVID-19 แพร่กระจายเชื้อได้ดีในพื้นที่เขตหนาวอย่างอิตาลีและสหรัฐ แต่แทบไม่พบการติดเชื้อในประเทศที่มีอากาศร้อนอย่างสาธารณรัฐชาดในแอฟริกาและกายอานาในอเมริกาใต้เป็นต้น
แต่ทฤษฎีนี้ได้ถูกแย้งด้วยการยกตัวอย่างประเทศอินโดนีเซีย, บราซิล, เปรูและเอกวาดอร์ตามที่กล่าวมาแล้ว
การใช้กฎล็อคดาวน์แต่เนิน ๆ และยิ่งเข้มงวดยิ่งดี
พวกเขาได้ยกตัวอย่างประเทศเวียดนามและกรีซที่ประกาศมาตรการคุมเข้มตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้เวียดนามหยุดจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับไม่ถึง 300 คนและไม่มีผู้เสียชีวิตมาเป็นเวลายาวนาน
อย่างไรก็ตามดังที่กล่าวไว้แล้วว่าประเทศลาวและกัมพูชาไม่มีมาตรการล็อคดาวน์ทั้งคู่ แต่สามารถยืนผู้ติดเชื้อไว้ที่ 19 คนและ 122 คนมาเป็นเวลาหลายวัน นักวิชาการได้ยกประโยชน์ของการรักษาระยะห่างทางวัฒนธรรม คือปัจจัยทำให้สองประเทศนี้รอดพ้นการระบาดอย่างรุนแรง
ทฤษฎีทอยลูกเต๋า
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยอมรับว่าอาจไม่ใช่เหตุผลเดียว แต่หลายประเทศจะมีเหตุผลต่าง ๆ ผสมผสานกัน
เป็นต้นว่าประเทศที่มีวัฒนธรรมและอากาศคล้ายกัน แต่ผลออกมาต่างกันเนื่องจากมีปัจจัยอื่นที่ต่างกันเป็นต้น

ภาพฝรั่งที่ติด COVID-19 ในเมืองไทยได้เขียนเผยแพร่ออนไลน์กล่าวขอบคุณประเทศไทย มีการแจกหน้ากากฟรี, มีเจลทำความสะอาดมือทุกแห่ง, ตรวจวัดอุณหภูมิฟรี, ตรวจการติดเชื้อ COVID-19 สำหรับผู้มีความเสี่ยงสูงฟรี, รักษาฟรีผู้ติดเชื้อ COVID-19, ให้อาหารวันละ 2 มื้อฟรีแก่ทุกคน, และต่อวีซ่าฟรีจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม

“ขอได้ลองเสียเวลาฉุกคิดดูว่า ประเทศใดที่ล้ำสมัยที่สุด? สหรัฐ, ยูอี, สหราชอาณาจักร หรือคุณอาจจำเป็นจะต้องให้คำจำกัดความใหม่ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วแท้จริงหมายถึงอะไร… ขอบคุณประเทศไทย เราจะไม่ลืมคุณ”
อย่างไรก็ตามหากให้เลือกประเทศที่ถูกไวรัส COVID-19 โจมตีอย่างหนักด้วยคลื่นลูกที่หนึ่งแล้วมีการจัดการรับมือได้ดีที่สุด 5 อันดับแรกของโลก ในจำนวนนั้นย่อมมีประเทศออสเตรเลียและประเทศไทยอยู่ด้วย
แต่ถ้าให้ฟันธงระหว่างออสเตรเลียและประเทศไทย จิงโจ้นิวส์ขอเลือกประเทศไทยว่าทำได้ดีกว่า เพราะประเทศไทยดูแลคนทุกชาติทุกภาษาได้ดีกว่าโดยไม่มีเหตุการณ์รังเกียจเชื้อชาติ แทนที่จะโจมตีคนจีนว่าเป็นต้นเหตุของการแพร่เชื้อไวรัส แต่คนไทยกลับให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจพวกเขา
ชาวต่างชาติที่ตกค้างในประเทศไทยเจอน้ำใจคนไทยให้ที่พักและอาหารกันอิ่มหนำสำราญ จนหลายคนไม่คิดจะกลับไปตายที่บ้านเกิดเมืองนอน แม้ว่าจะเป็นประเทศที่เจริญกว่าแต่ระบบสาธารณสุขของพวกเขาเอาเข้าจริงย่ำแย่กว่าประเทศไทยหลายเท่า
ในประเทศไทยผู้ป่วยทุกคนทุกชาติทุกศาสนาจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจนออกจากโรงพยาบาล แต่ในประเทศที่เจริญแล้วเขาจะให้ผู้ติดเชื้อรักษาตัวเองตามมีตามเกิดที่บ้าน จนอาการเพียบหนักจริง ๆ จึงรับเข้าโรงพยาบาลและส่วนใหญ่ก็ไปเสียชีวิตที่นั่น
หลังจากเชื้อไวรัสอุบัติขึ้นที่เมืองอู่ฮันไม่นาน ผู้ป่วยไวรัส COVID-19 นอกประเทศจีนรายแรกเกิดขึ้นที่ประเทศไทย (เมื่อสองสามวันมานี้ที่มีการแจ้งว่าผู้ป่วยไวรัส COVID-19 นอกประเทศจีนรายแรกเกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศส) เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ชาวจีนนิยมท่องเที่ยวมากที่สุด
เมื่อประเทศไทยถูกคลื่นไวรัส COVID-19 ถล่มลูกแรกจนเส้นกร๊าฟพุ่งกระฉุดมีการทำนายตามหลักทฤษฎีว่า ในขั้นร้ายแรงที่สุดประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อ 350,000 คนภายในเดือนเมษายน ในระดับกลางถ้าจำไม่ผิดที่ 25,000 คน และหากรับมือได้ดีที่สุดจะมีผู้ติดเชื้อ (ถ้าจำไม่ผิด) 3,000 คน แต่ ณ วันที่ 30 เมษายนประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 2,954 คน
ความสำเร็จครั้งนี้ไม่ได้มาอย่างง่าย ๆ แต่ยากลำบากจนเลือดตาแทบกระเด็น ต้องขอชื่นชมนายกรัฐมนตรีของไทยในการติดสินใจครั้งสำคัญ ด้วยการทำตามคำแนะนำของคณะแพทย์อาวุโสของประเทศในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ และเลือกใช้ข้าราชการประจำเป็นผู้ดำเนินงาน กอปรกับเป็นความโชคดีของประเทศไทยที่มีระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดในอันดับ 6 ของโลกตามการจัดอันดับขององค์การอนามัยโลก, มีวัฒนธรรม-ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง, มีประชาชนที่มีจิตใจดี ยามสงบคนไทยใช้ชีวิตตามสบายแต่ยามประเทศมีปัญหาทุกคนมีวินัยและมีจิตสาธารณะ และที่สำคัญมีสถาบันสูงสุดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยในเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
โครงการมูลค่าเป็นล้านล้านบาทในการช่วยเหลือประชาชนและฟื้นฟูเศรษฐกิจแทบจะไม่รั่วไหล เพราะตัดวงจรพวกที่จ้องจะกอบโกยออกไป จะมีพลาดท่าบ้างก็ในระดับบริหารส่วนอำเภอและตำบล เพราะยังมีคนคอยจ้องหาทางกอบโกยในทุกโอกาสที่เปิดช่อง อย่างถุงยังชีพแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนจาก COVID-19 ราคา 200 บาทก็ซัดเข้าไป 1,000 บาทแล้วกินส่วนต่างกัน (อันนี้เป็นตัวเลขสมมุติ แต่เรื่องจริงก็เป็นอย่างเนี้ย)
ของแถมวิดีโอเพลง
ลิงค์คลิปวิดิโอเพลง “ไม่มีภูเขาสูงเกินปีนป่าย” เป็นบทเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับแพทย์ พยาบาลรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยกันฟันฝ่าปัญหาและอุปสรรคในช่วง COVID-19 ขับร้อง : นายแพทย์วิภู กำเนิดดี – รพ.พระมงกุฏเกล้า ขับร้อง, คีย์บอร์ด : นายแพทย์อาชวินทร์ ตันไพจิตร – รพ.ศิริราช ขับร้อง : แพทย์หญิงสุดาปรีย์ สรสุชาติ – รพ.จุฬาลงกรณ์ ขับร้อง : พยาบาลอภิญญา โล่หิรัญ – รพ.ศิริราช ขับร้อง : พ.ต.อ.หญิง ศิริกุล กฤตพิทยบูรณ์ & พีเอชคอรัส – รพ.ตำรวจ กีต้าร์เบส : นายแพทย์ปรมินทร์ ม่วงแก้ว – รพ.รามาธิบดี กีต้าร์ : นายแพทย์ธเนศ พัวพรพงษ์ – รพ.วิภาวดี คำร้อง, ทำนอง, เรียบเรียง : พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เนื้อเพลง ไม่มีภูเขาสูงเกินปีนป่าย ขอบคุณทุกทุกคน ที่ทุ่มเทใจและกาย ร่วมแรงเผชิญภัยไม่นึกหวั่น หนักเบาไม่สำคัญ ขอเราก้าวไปพร้อมกัน มุ่งฝ่าฟันสู่จุดหมาย อุ่นใจที่มีเธอ ไม่ได้เดินทางผู้เดียว มีเธอร่วมทางเราไม่โดดเดี่ยว ตั้งใจทำให้ดี ให้มันสุดแรงที่มี ไม่มีสิ่งใดหยุดเราไว้ ไม่มีภูเขาลูกใด สูงเกินปีนป่าย หากเรามีความมั่นใจไม่หวั่นไหว สิ่งที่ขวางยากเพียงใด เราจะปีนข้ามมันไป สู่ปลายทางสดใสและสวยงาม พวกเรานั้นรู้ดี สิ่งที่โยงเราด้วยกัน คือความผูกพันดังสัญญา ทำตามปณิธาน สู้ให้สุดไม่เลิกรา ไม่มีสิ่งใดหยุดเราไว้ / ศูนย์พัฒนาการสื่อสารต้านภัยพิบัติ
jingjonews.com
jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)
Jingjonews เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์
Categories: ข่าวออสเตรเลีย
Leave a Reply