ชักชวนผู้ปกครองปล่อยเด็กเดินลดความอ้วน ณ จุด 1 กม.ก่อนถึงโรงเรียน

ด็กน้อยขณะเดินมาโรงเรียน ท่ามกลางอากาศบริสุทธิ์ยามเช้าด้วยค่า PM2.5 โดยเฉลี่ย 5 ถึง 8 ของออสเตรเลีย : เครดิตภาพ abc.net.au

31 ม.ค. 2020 ผู้ปกครองเด็กได้รับการสนับสนุนให้ขับรถมาส่งเด็กประมาณ 1 กิโลเมตรก่อนถึงประตูโรงเรียน และให้เด็ก ๆ เดินเท้าไปชั้นเรียนในระยะทางที่เหลือ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ต่อต้านความอ้วน

ทางการในรัฐวิกตอเรียมีความพยายามหาวิธีแก้ไขปัญหาโรคอ้วน พร้อมแก้ไขปัญหาเด็กใช้เวลากับโทรศัพท์มือจนเบียนเบียนการเล่นและการออกกำลังกาย นอกจากนั้นเด็กยุคใหม่ยังหันมากินอาหารไม่มีประโยชน์

ในภูมิภาค South Grampians ทางตะวันตกของรัฐวิกตอเรียซึ่งประสบปัญหาประชาชนครึ่งหนึ่งถูกจัดชั้นอ้วน ในขณะที่ 20% ถูกจัดว่าเป็นคนอ้วนเกินขนาด

โรงเรียนประถม Hamilton North Primary ของภูมิภาคนี้ได้เริ่มโครงการ Drop & Walk Point หรือจุดส่งเด็กนักเรียน 800 เมตรก่อนถึงโรงเรียน เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เดินเท้าเข้าโรงเรียนในระยะทางที่เหลือ

เด็กใน Hamilton เมืองใหญ่ของภูมิภาค South Grampians ประสบปัญหา 35% ถูกจัดชั้นอ้วนหรืออ้วนเกินขนาด แต่ตัวเลขนี้ลดลงเหลือ 31% เพียงไม่นานหลังจากโครงการนี้เริ่มขึ้น

ครอบครัวตระกูล Mansons ผู้นำบุตรสองคน Willow วัย 7 ปีและ Harley วัย 11 ปีเข้าร่วมโครงการเดิน 800 เมตรพบว่า บุตรทั้งสองของพวกเขามีความกระฉับกระเฉงมากขึ้นและได้หันมาเล่นกีฬาแทนเล่นโทรศัพท์มือถือ

ทางด้านครูผู้สอนของโรงเรียน Hamilton North Primary ยังพบว่าการให้เด็กเดินเพิ่มขึ้นได้มีส่วนช่วยให้เด็กสนใจการเรียนและใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

นาง Renee Riley ครูผู้สอนกล่าวว่า การให้เด็กได้ออกไปเดินนอกชั้น 5 ถึง 10 นาทีแล้วกลับเข้ามานั่งในชั้นเรียนจะทำให้เด็กมีสมาธิกับการเรียนเพิ่มขึ้น

นอกจากโครงการให้เด็กเดินมาโรงเรียน 1 กม.ชุมชน Hamilton แล้วยังมีโครงการดี ๆ อื่น ๆ อีกเช่นสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมจากเต้าและจัดตั้งร้าน food co-op หรือร้านของชุมชนโดยมุ่งเน้นอาหารสดมีคุณภาพและใช้เครื่องปรุงที่ผลิตในท้องถิ่น

นับจากเริ่มโครงการพบว่าปัญหาโรคอ้วนเกินขนาดในชุมชนได้ลดลง 4%

ป้ายจุดที่ผู้ปกครองนำเด็กนักเรียนมาปล่อยไว้แล้วให้เดินไปโรงเรียนเอง : ภาพจากเฟซบุ๊กของ GenR8 Change ผ่านนสพ. The Daily Mail

ที่เมือง Tamworth เมืองแห่งเทศกาลดนตรีคันทรีทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐนิวเซาท์เวลส์ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีคนอ้วนสูงที่สุดในประเทศ โดยประชากรผู้ใหญ่ 2 ใน 3 ถูกจัดว่าเป็นคนอ้วนเกินขนาด คือ 61.2% ของประชากรถูกจัดว่าเป็นคนอ้วน เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ 31.3%

จากตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ABS) กำหนดให้คนสูงโดยเฉลี่ย 172 ซม.ที่มีน้ำหนักเกินกว่า 90 กก.ขึ้นไปถือว่าเป็นคนอ้วนเกินปกติ

สำนักงาน ABS พบว่าผู้ชายชาวออสเตรเลียมีน้ำหนักตัวมากกว่าผู้หญิงชาวออสเตรเลีย โดยผู้ชาย 75% จำเป็นต้องลดน้ำหนักตัวลงอีก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิง 60% ที่ต้องลดน้ำหนักตัวลง

สำนักงานสติถิพบว่าจำนวนชาวออสเตรเลียอ้วนเกินขนาดได้เพิ้มจาก 18.7% ในปี 1995 หรือเมื่อ 25 ปีที่แล้วมาอยู่ที่ 31.3% ในปีนี้

และพบว่าผู้อยู่อาศัยในถิ่นของผู้มีอันจะกินมีปัญหาโรคอ้วนน้อยกว่าผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม

สำหรับอันดับของเมืองที่มีประชากรอ้วนสูงสุด 10 อันดับแรกโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติมีดังนี้

 

เมือง / เขต รัฐ ร้อยละ
Tamworth West น.ซ.ว. 62.2%
Bridgewater แทสเมเนีย 57.0%
Davoren Park เซาท์ออสเตรเลีย 55.5%
Melton West วิกตอเรีย 53.9%
Mount Druitt น.ซ.ว. 52.8%
Smithfield/Elizabeth North เซาท์ออสเตรเลีย 52.0%
Kurri Kurri น.ซ.ว. 51.9%
Redbank Plains ควีนสแลนด์ 51.9%
Melton/Rockbank วิกตอเรีย 51.7%
Moree น.ซ.ว. 49.5%

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)

Jingjonews เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , , , ,

Leave a Reply

%d bloggers like this: