ไฟเขียวให้ฆ่าอูฐป่า 10,000 ตัวเพื่อลดจำนวนอูฐมากเกินไปและลดแก๊สเรือนกระจก

ภาพอูฐตามธรรมชาติในออสเตรเลียนับวันยิ่งขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว : เครดิตภาพจาก 7 News

10 ม.ค. 2020 รัฐเซาท์ออสเตรเลียเปิดไฟเขียวให้มีการฆ่าอูฐตามธรรมชาติจำนวนมากเป็นครั้งแรก หลังจากพวกมันก่อความเสียหายในวงกว้างต่อชุมชนห่างไกลของชาวอะบอริจิน อันเนื่องมาจากสภาพอากาศแห้งแล้ง

นักแม่นปืนจะทำหน้าที่สังหารอูฐตามธรรมชาติงวดแรกจำนวน 10,000 ตัวในขณะมีการเรียกร้องรัฐบาลกลางให้กลับมาสร้างตลาดสินเชื่อคาร์บอน (carbon credit market) อีกครั้งในการฆ่าอูฐเพื่อเป็นแรงจูงใจทางเศรษฐกิจเกี่ยวเนื่องเพื่อการลดการปล่อยแก๊สมีเทน

(หมายเหตุ Methane เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน มีสูตรเคมีคือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ)

การฆ่าอูฐจำนวนมากเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของผู้นำดินแดน Anangu Pitjantjatjara Yankunytjatjara Lands หรือ APY ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของชุมชนชาวอะบอริจินนับถือคริสเตียน ซึ่งถือว่าอูฐเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์

ดร. Tim Moore ผู้อำนวยการบริหารของ RegenCo บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการทำฟาร์มคาร์บอน* กล่าวว่า ตามคำภีร์ไบเบิลมีชายสามคนสวมเสื้อคลุมยาวขี่อูฐเพื่อมาเยี่ยมคารวะการประสูติของพระเยซู

(หมายเหตุ *ฟาร์มคาร์บอนหรือ carbon farming คือการทำฟาร์มเกษตรในรูปแบต่าง ๆ เพื่อลดแก๊สเรือนกระจก หรือการปลูกพืชเพื่อจับหรือควบคุมคาร์บอนไว้ในพืชผักและในดิน)   

คณะกรรมการบริหารของ APY มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในการสังหารอูฐ โดยกำหนดกรอบเวลาสังหาร 5 วัน โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการ 10 Deserts Project เป็นโครงการร่วมในการจัดการที่ดินกึ่งทะเลทราย 10 แห่งในความดูแลของกระทรวงสิ่งแวดล้อมและพลังงานโดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ BHP Billiton Foundation และคณะกรรมการ Alinytjara Wilurara Natural Resources Management Board ภายใต้ทุนของรัฐบาลกลาง

กระทรวงสิ่งแวดล้อมจะเป็นผู้จัดหาคนชี้เป้าไปกับเฮลิคอปเตอร์ Robinson R44 สองลำ เป็นที่เชื่อว่าอูฐที่ถูกสังหารจะถูกปล่อยทิ้งให้เน่าเปื่อยเอง แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีการทำลายซากด้วยการเผาหรือฝัง

นาง Marita Baker สมาชิกคณะกรรมการของ APY กล่าวว่า Kanypi ชุมชนของเธอซึ่งอยู่บริเวณทางด่วน Gunbarrel Highway ประมาณ 1270 ทางตะวันตกเฉียงเหนือของนครแอดิเลดได้ถูกฝูงอูฐคุกคามมาอย่างช้านาน พวกมันพังรั้วเข้ามาเดินรอบบ้านของคนในชุมชนและพยายามดื่มน้ำที่ปล่อยจากเครื่องปรับอากาศ อันเนื่องมาจากความแห้งแล้ง

รายงานแผนการจัดการอูฐตามธรรมชาติแห่งชาติ (NFCMP) ชึ่งตีพิมพ์ในปี 2010 ระบุว่ามีอูฐตามธรรมชาติกว่า 1 ล้านตัวท่องเที่ยวอยู่ในสามรัฐและดินแดนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี พวกมันขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว หากไม่มีการควบคุมประชากรอูฐจะเพิ่มเป็น 1 เท่าตัวในทุก ๆ 9 ปี (ในปัจจุบันน่าจะมีระหว่าง 2 ถึง 3 ล้านตัว)

ดร. Moore กล่าวว่าอูฐเป็นตัวการปล่อยแก๊สมีเทนสู่อากาศ เทียบเท่ากับหนึ่งตันของคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือเทียบเท่ากับเป็นการเพิ่มรถยนต์บนถนน 400,000 คัน

APY ต้องการใช้การควบคุมจำนวนอูฐในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ด้วยการเรียกร้องให้รัฐบาลกลางแก้ไขกฎหมายการให้เครดิตคาร์บอนสำหรับการฆ่าอูฐเพื่อเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

อย่างไรก็ตามกิจกรรมเปลี่ยนการปล่อยแก๊สจากสัตว์ป่าหรือสัตว์ตามธรรมชาติตามข้อตกลงของนโยบายลดแก๊สเรือนกระจกนานาชาติจะไม่ถูกนับรวมในวิธี Emissions Reduction Fund ต่อการคำนวนการลดเป้าหมายการลดแก๊สเรือนกระจกของรัฐบาล

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)

Jingjonews เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , , , ,

Leave a Reply

%d bloggers like this: