PwC ตรวจพบเนื้อออสซี่ที่ขายในจีนในทุกกิโลที่อ้างเป็นเนื้อวัวอาจเป็นเนื้ออย่างอื่น!

ภาพเนื้อวากิวจากออสเตรเลียขายที่ให้เศรษฐีในประเทศจีนตกกิโลกรัมละ 980 หยวนหรือ 202 เหรียญหรือ 4,215 บาท : เครดิตภาพจากสำนักข่าว ABC

4 พ.ย. 2019 ความต้องการเนื้อวัวคุณภาพดีจากออสเตรเลียในประเทศจีนได้ขยายตัวขึ้น 73% ในปีที่ผ่านมา ทำให้จีนกลายเป็นตลาดเนื้อส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย แต่เนื้อที่ชาวจีนซื้อรับประทานกิโลละหลายร้อยเหรียญอาจไม่ใช่เนื้อวัวจากออสเตรเลีย

PricewaterhouseCoopers (PwC) สำนักงานตรวจบัญชีหนึ่งใน “เดอะบิ๊กโฟร์” ของโลกตรวจพบว่าหนึ่งในสองกิโลกรัมของเนื้อวัวทำสเต็กที่วางขายในประเทศจีนภายใต้ข้อความระบุว่าเป็นเนื้อวัวจากออสเตรเลีย แท้จริงแล้วอาจไม่ใช่เนื้อวัวของออสเตรเลีย

นาย Craig Heraghty ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจการเกษตรของ PwC กล่าวว่ามันเป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไปถึงตัวเลขว่ามีการฉ้อฉลเนื้อวัวในปริมาณเท่าใด แต่สามารถบอกได้ว่า มันมีการฉ้อฉลเกิดขึ้นจริงอย่างแน่นอน

นาย Warwick Powell ผู้ก่อตั้งบริษัท Beefledger, ซึ่งมีฐานอยู่ในนครบริสเบนกล่าวว่า ผู้อยู่ในวงการอุตสาหกรรมเนื้อในประเทศจีนได้พัฒนาระบบการตรวจสอบและประเมินว่า ในทุก ๆ 10 กก.ของเนื้อวัวที่อ้างว่าเป็นเนื้อจากออสเตรเลียพบว่า 1 กก.ไม่ใช่

เขากล่าวว่า มันไม่ใช่เนื้อวัวจากประเทศที่อ้างแหล่งที่มา, มันไม่ใช่เนื้อตัดชั้นดี*ตามที่อ้าง หรือมันไม่ใช่เนื้อวัวแต่อย่างใด (*มาจากคำว่า cut of meat ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปไม่ทราบว่าภาษาไทยเรียกว่าอะไร)

“มันอาจเป็นเนื้อหมู, เป็นเนื้ออกเป็ดหรือเนื้อม้า”

นาง Katherina Li ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหาร Liberty Post บริษัทอีคอมเมิร์ชที่มีฐานอยู่ในกรุงปักกิ่งกล่าวว่า การฉ้อฉลเนื้อวัวเป็นปัญหาใหญ่ต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศจีน โดยมีการใช้เนื้อราคาถูกมาแอบอ้างว่าเป็นเนื้อวัวผลิตจากประเทศออสเตรเลีย

เธอยอมรับว่ามันเป็นแทคติกของการคดโกงที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในประเทศจีน

นาย Powell ได้ติดตั้งโปรแกรมระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์หรือ blockchain ขึ้นในประเทศจีนในเดือนตุลาคมนี้เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าชาวจีนจะมีความมั่นใจว่าพวกเขาได้ซื้อเนื้อวัวที่แท้จริงจากประเทศออสเตรเลีย

ระบบดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจัย Food Agility ซึ่งเป็นกิจการเอกชนอิสระจากทุนของรัฐบาลกลาง โดย Beefledger จะเปลี่ยนมาใช้ระบบติดต่อทางดิจิตอล (smart contracts) ที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมโดยอัตโนมัติไว้ล่วงหน้าโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง แทนระบบตราสารเครดิต (letters of credit) ที่มีการปลอมแปลงได้ง่าย

เรื่องของการฉ้อฉลแอบอ้างเนื้อวัวปลอมจากออสเตรเลียถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศขนาดประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาออกมาสนับสนุนการพัฒนาระบบ blockchain และระบบเงินตราเข้ารหัสลับหรือ cryptocurrency ให้เร็วยิ่งขึ้น

นาง Li กล่าวว่า “ในประเทศจีน ฉันเชื่อว่าเทคโนโลยี่ blockchain คือการติดตามอาหารและการต่อสู้กับการฉ้อฉลที่ดีในอนาคต” “จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงยินดีที่มีสินค้าจาก Beefledger ในแพลตฟอร์มของเรา”

ภาพข่าวออนไลน์เมื่อเดือนตุลาคม 2019 ที่สื่อฯตีแผ่บันทึกจากกล้องแอบติดตั้งไว้ที่โรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งกำลังลำเลียงม้าแข่งมาเชือดและชำแหละ : ภาพจาก google image

ขออนุญาตเสริม อันนี้เป็นข่าวมาในช่วงก่อนหน้านี้แต่จิงโจ้นิวส์ไม่ได้นำเสนอ ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาสื่อออสเตรเลียได้ตีแพร่ถึงการฆ่าม้าแข่งที่มีสุขภาพแข็งแรงท่ามกลางข้อกล่าวหาที่ว่า “เป็นการปฏิบัติที่โหดร้าย” ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมแข่งม้า

ข้อมูลของ Racing Australia อันเป็นตัวแทนของอุตสหกรรมแข่งม้าออสตรเลียอ้างว่า ในแต่ละปีจะมีม้าแข่งสุขภาพสมบูรณ์ถูกเข้าโรงงานฆ่าสัตว์เฉลี่ยปีละ 34 ตัว ส่วนที่เหลือจะถูกเลี้ยงดูจนแก่ตายไปเอง

แต่นาย Elio Celotto จากกลุ่ม Coalition for the Protection of Racehorses ซึ่งปกป้องการทารุณกรรมม้าแข่งอ้างว่าในโรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งมีการฆ่าม้าถึง 4,000 ตัวโดยยังไม่รวมถึงโรงฆ่าสัตว์อื่น ๆ

ได้มีการแอบติดกล้องอย่างลับ ๆ ที่โรงฆ่าสัตว์ที่ถูกพาดพิงซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐควีนสแลนด์ พบว่าภายใน 22 วันมีม้าแข่งถูกนำเข้าโรงฆ่าสัตว์กว่า 300 ตัว เป็นมูลค่าคิดเป็นเงิน 5 ล้านเหรียญ

ข่าวไม่ได้บอกว่าเนื้อม้าถูกนำมาจำหน่ายภายในประเทศหรือส่งออกไปยังประเทศที่นิยมรับประทานเนื้อม้า เหมือนอย่างการส่งออกเนื้อจิงโจ้, อีมูล, พอสเซียม หรือแม้กระทั่งเนื้อคางคกแคนโทดซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศฝรั่งเศสก็ตาม

ซึ่งการส่งออกเนื้อสัตว์เหล่านี้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากมีการส่งเนื้อม้าไปยังประเทศจีน การเล่นแร่แปรเนื้อม้าเป็นเนื้อวัว ก็จะเป็นการฉ้อฉลที่เกิดขึ้นจากผู้ประกอบการในประเทศจีน

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)

Jingjonews เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , , , ,

Leave a Reply

%d bloggers like this: