สตรีนักต่อสู้ผู้ถูกกองทัพญี่ปุ่นข่มขืนในสงครามโลกเสียชีวิตด้วยวัย 96 ปี

นาง Jan Ruff-O’Herne ผู้ถูกทหารญี่ปุ่นใช้เป็นทาสทางเพศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

21 ส.ค. 2019 นาง Jan Ruff-O’Herne ผู้รอดชีวิตจากการถูกรุมข่มขืนโดยทหารญี่ป่นในสงครามโลกครั้งที่สอง, นักเขียนและนักกิจกรรมทางสิทธิมนุยชนได้เสียชีวิตลงด้วยวัย 96 ปี

นาง Ruff-O’Herne ผู้ได้รับรางวัลเสรีภาพนานาชาติและอีกมากมายได้เสียชีวิตโดยมีสมาชิกในครอบครัวล้อมรอบที่นครแอดิเลดในตอนเช้าของวันอังคารที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา

นาง Vickie Chapman รัฐมนตรีกระทรวงสำนักงานอัยการและเป็นส.ส.เขตเลือกตั้ง Bragg ในรัฐเซาท์ออสเตรเลียเป็นนักการเมืองบุคคลแรกที่ออกมากล่าวแสดงความไว้อาลัยต่อการจากไปของเธอ

นาง Ruff-O’Herne เกิดในวันที่ 18 มกราคมปี 1923 จากครอบครัวชาวดัตช์ในเมืองบันดุงเมืองหลวงของจังหวัดชวาตะวันตกซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของประเทศเนเธอร์แลนด์

ในปี 1944 กองทัพญี่ปุ่นได้บุกยึดอินโดนีเซีย สตรีชาวดัชต์หลายพันคนถูกจับเข้าค่ายกักกันเป็นเชลยสงคราม พวกเธอถูกใช้ให้ทำงานหนัก จนกระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ 1944 นายทหารระดับสูงของกองทัพญี่ปุ่นได้ออกคำสั่งให้หญิงสาวชาวดัชต์อายุ 17 ปีทุกคนขึ้นไปมายืนเรียงแถว

พวกเขาเลือกหญิงสาวหน้าตาดี 10 คนโดยมีน.ส. Jan O’Herne วัย 21 ปีในขณะนั้นเป็นหนึ่งในสิบหญิงสาวที่ถูกเลือก

เธอและหญิงสาวชาวดัชต์อีกหกคนถูกพาไปในบ้านหลังหนึ่งซึ่งถูกใช้เป็นห้องเสพกามสำหรับทหารญี่ปุ่น สถานที่ที่เธอถูกทหารญี่ปุ่นแวะเวียนกันมาข่มขืนครั้งแล้วครั้งเล่า

ก่อนที่สงครามจะสงบลง นายทหารญี่ปุ่นได้สั่งย้ายเธอมาอยู่ที่ค่ายกักกันในเมือง Bogor ที่ซึ่งเธอได้กลับมาอยู่กับครอบครัวของเธอ โดยทหารญี่ปุ่นขู่ไม่ให้เธอเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นแก่ทุก ๆ คน มิฉะนั้นพวกเขาจะฆ่าคนในครอบครัวทั้งหมด

หลังจากสงครามสงบลงน.ส. Jan O’Herne ได้พบกับนาย Tom Ruff ทหารสังกัดสหราชอาณาจักรและได้แต่งงานกันในปี 1946 ทั้งสองย้ายไปอยู่อาศัยในบริเตนใหญ่ 14 ปีก่อนที่จะอพยพครอบครัวมาตั้งหลักแหลงในออสเตรเลียในปี 1960 เธอมีบุตรสาวสองคนคือ Eileen และ Carol

นอกจากสามีของเธอแล้วนาง Ruff-O’Herne ไม่ได้เปิดเผยเหตุการณ์ชั่วร้ายที่เธอได้รับในระหว่างเป็นเฉลยสงครามให้ใครได้รับทราบจนกระทั่งในปี 1992 มีสตรีชาวเกาหลีใต้สามคนที่เรียกว่า ‘โรมาจิ’ หรือในภาษาอังกฤษว่า ‘comfort women’ (เป็นคำเรียกสตรีในดินแดนที่กองทัพญี่ปุ่นยึดครองแล้วถูกบังคับให้เป็นทาสทางเพศ) ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวขออภัยและชดใช้ค่าเสียหาย

เธอได้รับแรงบันดาลใจจากสตรีทั้งสามและความต้องการสนับสนุนพวกเธอ ทำให้นาง Ruff-O’Herne ตัดสินใจเปิดเผยเรื่องของเธอสู่สาธารณะครั้งแรกที่ International Public Hearing on Japanese War Crimes ในกรุงโตเกียวในเดือนธันวาคมปี 1992

ตามด้วยหนังสือ Fifty Years of Silence เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เธอเก็บไว้เป็นความลับยาวนานถึง 50 ปี หนังสือนี้ถูกแปลเป็น 6 ภาษาที่รวมถึงดัชต์, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินโดนีเซีย, อินเดียและจีน

เธอได้ทำงานให้กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, กาชาดสากลและองค์กรนิรโทษกรรมสากล และทำงานเรียกร้องเพื่อกลุ่มสตรี comfort women เธอได้เดินทางไปเป็นผู้บรรยายในออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น, สหรัฐ, สหราชอาณาจักร, เนเธอร์แลนด์และอีกหลายประเทศ

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com (งดใช้ชั่วคราว)

Jingjonews เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , , ,

Leave a Reply

Discover more from jingjonews

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading