ชาวโฮบาร์ทโวยถูกฝูงจิงโจ้ย้ายถิ่น เข้าเมืองมาทำลายสนาม & สวนรอบบ้าน

เบนเน็ตวอลลาบี้ที่ขยายจำนวนประชากรเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตเมือง : ภาพจากนสพ. The Mercury

31 ก.ค. 2017 ชาวนครโฮบาร์ทกำลังเผชิญกับการบุกรุกของจิงโจ้วอลลาบี้หรือจิงโจ้แคระ (wallaby) ที่เพิ่มประชากรมากขึ้น ในขณะที่การตกแต่งสนามหญ้าและสวนรอบบ้านได้กลายเป็นแหล่งอาหารที่ดีของพวกมัน

ชาวนครโฮบาร์ทในหลายพื้นที่ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยประสบพบเห็นจิงโจ้เข้ามาในย่านที่อยู่อาศัยของพวกเขามาก่อน แต่ตอนนี้พวกเขากำลังเผชิญต่อการบุกรุกของจิงโจ้สายพันธุ์เบนเน็ตวอลลาบี้ (Bennett’s wallabies จิงโจ้วอลลาบี้คอแดงที่พบเห็นทั่วไปในรัฐแทสเมเนีย เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนัก 20 กก. เวลายืนสูงประมาณ 1.50 เมตร) และจิงโจ้แพดีเมลอน (pademelons เป็นจิงโจ้สายพันธุ์เล็กกว่าวอลลาบี้)

โดยพบพวกมันขยายเข้ามาในย่าน Mt Stuart, Lenah Valley, West Moonah, Glenorchy, Geilston Bay และ Acton Park หรือแม้แต่พื้นที่ตัวเมืองชั้นในอย่างย่าน West Hobart และ Dynnyrne

ผศ. Menna Jones นักสัตววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแทสเมเนียกล่าวว่า จิงโจ้ได้เข้ามาในพื้นที่ย่านขอบเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มานับตั้งแต่เกิดภาวะแห้งแล้งระยะยาวที่เริ่มขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 2000s

พวกมันได้ย้ายเข้ามาปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่และเรียนรู้ที่จะอยู่อาศัยกับมนุษย์ในเมือง

จากตัวเลขของ DPIPWE (กระทรวงอุสาหกรรมขั้นพื้นฐาน, สวนสาธารณะ, น้ำและสิ่งแวดล้อม) ของรัฐบาลรัฐแทสเมเนียพบว่าจำนวนจิงโจ้วอลลาบี้ได้เพิ่มสูงขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ

แพดีเมลอนจิงโจพันธ์เลขในแทสมาเนีย : ภาพชั่วคราวจาก craterlakes.com.au

จากการสำรวจของกระทรวง DPIPWE ชี้ให้เห็นว่าจิงโจ้สายพันธุ์เบนเน็ตวอลลาบี้ได้เพิ่มเป็นสามเท่าในพื้นที่ดังกล่าวในระหว่างปี 2014 ถึง 2015 ในขณะที่จิงโจ้แพดีเมลอนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของช่วงเวลาเดียวกัน

นาย Greg Irons แห่ง Bonorong Wildlife Sanctuary (ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า) กล่าวว่า การที่ชาวโฮบาร์ทเป็นคนรักสนามหญ้าสีเขียวและชอบปลูกไม้ประดับคือสาเหตุสำคัญที่ดึงดูดวอลลาบี้และแพดีเมลอน เพราะมันเป็นแหล่งอาหารที่ดีของสัตว์ตระกูลจิงโจ้

นาย Irons กล่าวว่า สัตว์น่ารักเหล่านี้จำนวนไม่น้อยต้องจบชีวิตอย่างง่ายดายจากการถูกรถชน เกือบ 40% ของสัตว์ที่ถูกรถชนเสียชีวิตคือวอลลาบี้ ตามมาเป็นอันดับสองด้วยแพดีเมลอนในอัตรา 15%

นาย Nick Mooney ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสัตว์ป่ากล่าวว่า การเกิดไฟป่าและการจัดการระบบชลประทานคือสาเหตุที่ทำให้วอลลาบี้และแพดีเมรอนเคลื่อนย้ายเข้าสู่เมืองที่มีอาหารสมบูรณ์ และมันสามารถปรับตัวเขากับมนุษย์โดยลดความหวาดกลัวมนุษย์ลงอย่างเห็นได้ชัด

นาง Jennifer Bergfield ผู้ถูกวอลลาบี้บุกรุกและทำลายสวนหลังบ้านของเธอ : ภาพชั่วคราวจากนสพ. The Mercury

นาง Jennifer Bergfield ผู้อยู่อาศัยในย่าน Mt Stuart มาเป็นเวลากว่า 30 ปีกล่าวว่า เธอเห็นตัววอลลาบี้เข้ามาเพ่นพ่านในสวนหลังบ้านของเธอมาได้ 3 ถึง 4 ปีแล้ว พวกมันเข้ามากินดอกไม้และผักที่เธอปลูกไว้

นาง Bergfield กล่าวว่าเธอเป็นคนรักสัตว์ตามธรรมชาติ แต่ก่อนมีนกและตัวพอสซั่มซึ่งไม่ได้ทำความเสียหาย แต่พวกวอลลาบี้และแพดีเมรอนได้สร้างความเสียหายให้กับสวนหลังบ้านของเธอเป็นอย่างมาก

ศจ. Jones กล่าวว่า ชาวโฮบาร์ทจะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับสัตว์ตามธรรมชาติ การสร้างรั้วอย่างเหมาะสมก็เป็นวิธีป้องกันไม่ให้วอลลาบี้เข้ามาสร้างความเสียหายที่ได้ผล

และเธอเห็นว่าชาวโฮบาร์ทควรยินดีต้อนรับพวกมัน ควรรู้สึกภาคภูมิใจนิด ๆ ที่มีพวกมันเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน แทนที่จะมองว่าพวกมันเป็นสัตว์ก่อกวน และควรวางแผนที่จะอยู่ร่วมกับพวกมันในอนาคตได้อย่างไร

เธอกล่าวว่า เธอเห็นชาวโฮบาร์ทจำนวนไม่น้อยที่เดินเข้าไปหามัน สัมผัสมันและเล่นกับมัน นั่นคือความสัมพันธ์แห่งความสุขที่มีให้ซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์และจิงโจ้

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com

จิงโจ้นิวส์เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน   โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , ,

Leave a Reply

%d bloggers like this: