ม.ซิดนีย์แถลงปลูกแจ็กกาแรนดาต้นใหม่ แทนต้นที่ล้ม แถมปลูกต้นหางนกยูงฝรั่ง

Cate Blanchett ดาราสาวมากฝีมือด้วยรางวัลออสการ์สองตัวรับประกัน ยังต้องมาถ่ายภาพกับต้นแจ็กกาแรนดาต้นนี้ : ภาพจากนสพ. The SMH

Cate Blanchett ดาราสาวมากฝีมือด้วยรางวัลออสการ์สองตัวรับประกัน ยังต้องมาถ่ายภาพกับต้นแจ็กกาแรนดาต้นนี้ : ภาพจากนสพ. The SMH

12 พ.ย. 2016 หลังจากต้นแจ็กกาแรนดาอายุ 88 ปีที่ Main Quadrangle ในมหาวิทยาลัยซิดนีย์ได้ล้มลงเมื่อคืนวันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม บัดนี้สภามหาวิทยาลัยมีดำริที่จะปลูกแจ็กกาแรนด้าต้นใหม่โดยจะปลูกต้นไม้ท้องถิ่นควบคู่ไปด้วย

ต้นแจ็กกาแรนดาภายในอาคาร Main Quadrangle เป็นที่รู้จักกันดีของนักท่องเที่ยวเยื่อนมหาวิทยาลัยที่จะต้องมาถ่ายรูปในช่วงดอกบาน และยังถูกนำมาเป็นคติเตือนใจนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมาช้านานว่า ให้รีบท่องตำรับตำราก่อนที่แจ็กกาแลนดาจะเริ่มออกดอกมิฉะนั้นจะสอบตก ตามที่จิงโจ้นิวเสนอข่าวไปแล้วในหัวข้อ “แจ็กกาแรนดาสัญลักษณ์ม.ซิดนีย์ ล้มในช่วงเริ่มฤดูผลิดอกสีม่วงคราม” วันที่ 30 ตุลาคม 2016

ต้นแจ็กกาแรนดาล้มที่อาคาร Main Quadrangle มหาวิทยาลัยซิดนีย์ : ภาพจากนสพ. The SMH

ต้นแจ็กกาแรนดาล้มที่อาคาร Main Quadrangle มหาวิทยาลัยซิดนีย์ : ภาพจากนสพ. The SMH

เมื่อต้นแจ็กกาแรนด้าต้องล้มทั้งยืนในช่วงเข้าใกล้สอบไล่ประจำปี และเพื่อไม่ให้นักศึกษาต้องเสียกำลังใจ ทางมหาวิทยาลัยได้ประกาศที่จะนำต้นที่ตัดตอนต่อกิ่งจากต้นเดิมมาทำการปลูกลงดิน ณ จุดเดิมในเดือนเมษายนปีหน้า พร้อมกับจะปลูกต้นไม้ท้องถิ่นควบคู่กันไป

ดร. Michael Spence รองอธิการบดีมหาวิทยาลันซิดนีย์กล่าวว่า ต้นแจ็กกาแรนดา (ต้นที่ล้ม) ได้ยืนอยู่ในหัวใจของนักศึกษาจากรุ่นสู่รุ่นจนเป็นประเพณีที่ได้แสดงออกถึงการรับเอาประเพณีแห่งนานาชาติ   แต่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่บนที่ดินดั่งเดิมของชนเผ่า Gadigal แห่งชนชาติ Eora ดังนั้นมหาวิทยาลัยไม่เพียงจะปลูกแจ็กกาแรนดาแต่ยังจะปลูกพืชท้องถิ่นบนพื้นที่ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งท้องถิ่นอีกด้วย โดยจะปลูกที่ Main Quadrangle และบริเวณอื่น ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมีความผูกพันธ์อย่างเหนียวแน่นกับท้องถิ่นและรักษาคำมั่นต่อการออกไปสู่โลกภายนอก

ต้นแจ็กกาแรนดาและหางนกยูงฝรั่งในนครซิดนีย์ขึ้นประชันกันในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน : ภาพชั่วคราวจาก allthingswritten.com.au

ต้นแจ็กกาแรนดาและหางนกยูงฝรั่งในนครซิดนีย์ขึ้นประชันกันในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน : ภาพชั่วคราวจาก allthingswritten.com.au

แจ็กกาแรนดาเป็นพื้นมีต้นกำเนิดจากทวีปอเมริกาใต้ ส่วนพื้นท้องถิ่นที่จะนำมาปลูกคู่กับแจ็กกาแรนดานั้นทางมหาวิทยาลัยยังไม่ได้เลือกอย่างเป็นทางการ แต่ที่อยู่ในข่ายพิจารณาก็คือ ต้นหางนกยูงฝรั่ง หรือ flame tree ซึ่งจะออกดอกบานสะพรั่งในช่วงเวลาเดียวกับแจ็กกาแรนดา

ส่วนต้นไม้ที่อยู่ในข่ายรองลงมาคือต้น yellow box tree (เป็นต้นยูคาลิปตัสชนิดหนึ่ง ออกดอกคล้ายกับดอกไม้ประจำรัฐแทสมาเนีย)

หมายเหตุ ออสเตรเลียมีดอกไม้ประจำประเทศและประจำรัฐ ท่านสามารถดูได้ด้วยการคลิก “ดอกไม้ประจำชาติออสเตรเลีย และ ดอกไม้ประจำรัฐ” ครับ

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com

จิงโจ้นิวส์เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน   โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , , , , , , ,

Leave a Reply

Discover more from jingjonews

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading