
นสพ. the Courier Mail ฉบับ 29 มี.ค. 2016 พาดหัวข่าว “ผู้ลี้ภัยที่มีความสุขที่สุด” จากการที่เขาใช้เงินสวัสดิการคนพิการท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง ทั้งที่ตัวเองมีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์
29 มี.ค. 2016 นาย Aladdin Sisalem ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์-คูเวตและเป็นนายแบบขึ้นโปสเตอร์ให้กับกลุ่มรณรงค์เพื่อผู้ขอลี้ภัย ได้ประสบความล้มในการอุทธรณ์ต่อการถูกยกเลิกเงินสวัสดิการคนพิการ หลังจากถูกพบว่าเขาใช้ชีวิตท่องเที่ยวในต่างประเทศถึง 16 ครั้งในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา
นายอะลาดินผู้มีเงินสวัสดิการผู้พิการแทนตะเกียงวิเศษและโดยสารเครื่องบินเจทแทนการนั่งพรมวิเศษได้ให้การกับคณะอนุญาโตตุลาการด้านการจัดการคำอุทธรณ์ (AAT) ว่า การเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศของเขาทั้ง 16 ครั้งมาจากเงินสวัสดิการคนพิการที่เขาได้รับทั้งสิ้น
ในเวลาเดียวกันนาย Sisalem วัย 37 ปีได้บอกกับนายแพทย์ (doctors = มากกว่า 1 คน) ของเขาว่า เขามีความยุ่งยากในการนั่งและเดิน และสามารถใช้มือและแขนได้ไม่กี่นาที ทำให้เขาไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะอนุญาโตตุลาการ AAT ได้ตัดสินให้นาย Sisalem ผู้ซึ่งได้รับสถานภาพผู้ลี้ภัยในปี 2004 และได้สัญชาติออสเตรเลียในปี 2009 ไม่มีคุณสมบัติได้รับเงินสวัสดิการคนพิการ เนื่องจากเขาใช้เวลาในการท่องเที่ยวในต่างประเทศมากเกินไป
นพ. Damien Cremean ผู้พิพากษาสมทบอาวุโสของคณะอนุญาโตตุลาการ AAT พบว่า สภาพร่างกาย, สติปัญญาและสุขภาพจิตของนาย Sisalem แท้จริงไม่อยู่ในกรอบ (threshold) 20 แต้มตามคุณสมบัติที่สามารถรับเงินสวัสดิการคนพิการ
ในอดีตนาย Sisalem เคยเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ในฐานะเป็น “โรบินสัน ครูโซ” ยุคใหม่ จากกรณีที่เขาเป็น “ผู้ชายที่ถูกลืมแห่งเกาะมานัส*” เมื่อเขาใช้เวลา 17 เดือนอยู่บนเกาะแห่งนั้นในระหว่างปี 2003 ถึง 2004 รวมถึงอยู่ตามลำพังเป็นเวลา 10 เดือน (*Manus Island ถูกใช้เป็นที่ตั้งค่ายกักกันผู้ลี้ภัยเข้าเมืองผิดกฎหมายของรัฐบาลออสเตรเลียในประเทศปาปัวนิวกีนี)
นาย Sisalem ผู้นี้ลงทุนนั่งเครื่องบินมายังประเทศปาปัวนิกกีนีด้วยตัวเอง แล้วว่าจ้างชาวประมงค์พาเขาไปส่งที่ศูนย์กักกันบนเกาะ Manus ในขณะที่ศูนย์จะปิดตัวลง ทำให้รัฐบาลต้องเสียเงินภาษีของประชาชนดูแลเขาขณะอยู่บนเกาะกลางมหาสมุทรเป็นเงินถึง 23,000 เหรียญต่อวัน
หลังจากเขาได้รับสถานภาพผู้ขอลี้ภัยในปี 2004 เขาได้อยู่อาศัยในนครเมลเบิร์นโดยพักอยู่กับนาย Julian Burnside เนติบัณฑิตนักรณรงค์เพื่อผู้ลี้ภัยก่อนที่จะแยกมาเช่าแฟลตอยู่ที่ย่าน St Kilda
หลังจากปี 2010 นาย Sisalem ได้เริ่มออกเดินทางท่องโลกกว้างรวมถึงใช้เวลาอยู่ในคลีนิคนวดเพื่อสุขภาพและสปาสมุนไพร และทำสมาธิในประเทศไทยเป็นเวลา 2 เดือน ในปีที่ผ่านมาเขาออกท่องเที่ยวไปยัง 4 ประเทศคือจีน, อินโดนีเซีย, รัสเซีย แล้วจึงหวนกลับมาท่องเที่ยวประเทศไทยเป็นหนที่สอง
นพ. Cremean กล่าวในการตัดสินว่า “เป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่านาย Sisalem ได้ใช้เงินเก็บจากเงินสวัสดิการคนพิการไปใช้ในการท่องเที่ยว” และเป็นเรื่องอยากที่จะเชื่อตามข้ออ้างว่า เขาไปเที่ยวประเทศไทยสองครั้งโดยไม่ได้ออกไปเที่ยวไหน นอกจากพักผ่อนอยู่ภายในที่พัก ทั้งที่ประเทศไทยมีชื่อเสียงทางด้านหาดทรายและโบราณสถานที่สวยงาม
ในระหว่างพิจารณาคำอุธรณ์นาย Sisalem อ้างว่าเขาเจ็บคอและหลังอย่างรุนแรงจากอาการโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (cervical canal stenosis) และโรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (post traumatic stress disorder หรือ PTSD) แต่มีหลักฐานแย้งว่าเขาสามารถยกกระเป๋าเดินทางหนัก ๆ ได้ในหลายโอกาส และภาพถ่ายของเขาในต่างประเทศดูเขามีความสุขดีกับการท่องเที่ยว โดยไม่มีวี่แววของคนเจ็บป่วย
เป็นที่เชื่อว่า ในระหว่างที่นาย Sisalem กินเงินสวัสดิการคนพิการ เขาได้ทำงานเป็นช่างซ่อมเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นงานที่กลุ่มรณรงค์เพื่อผู้ขอลี้ภัยหาให้เขา

นาย Aladdin Sisalem ในนครเมลเบิร์น : ภาพชั่วคราวจากนสพ. the Courier Mail
jingjonews.com
jingjonews@hotmail.com
จิงโจ้นิวส์เป็นสื่อออนไลน์มีวัตุถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์
Categories: ข่าวออสเตรเลีย
Leave a Reply