
นาง Gamble Breaux ได้รับการตกแต่งเล็บจาก Helen, Mina และ Rosie สามพนักงานสาวของ Hollywood Nails สาขา Emporium จากหน้า 14 ของนสพ. Herald Sun
14 ก.ย. 2015 จิงโจ้นิวส์เข้าใจเองว่าธุรกิจร้านแต่งเล็บในออสเตรเลียน่าจะตกอยู่ในมือคนเวียดนาม และน่าจะทำรายได้ดี เพราะเจ้าของร้านข้างบ้านประมูลซื้อบ้านได้อีกแล้ว และข่าวนี้เป็นเรื่องราวของผู้ลี้ภัยด้านมนุษยธรรมที่ถูกหนังสือพิมพ์ Herald Sun สื่อหลักในนครเมลเบิร์นยกตัวอย่างขึ้นมาถึงความสำเร็จของผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในรัฐวิกตอเรีย
ผู้ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคือนาย Dung Le ผู้ลี้ภัยจากเวียดนาม เขาเข้ามาอยู่อาศัยในออสเตรเลียในปี 1984 โดยเริ่มอาชีพในธุรกิจทำเสื้อผ้าตามความถนัดของตน จนกระทั่งในทศวรรษที่ 1990s เขาเริ่มตระหนักว่าอุตสาหกรรมเสื้อภาพในออสเตรเลียถึงยุคล้มสลายอย่างแน่นอน ก่อนที่ข้อตกลงการค้าเสรีจะมาถึงเสียอีก
หมายเหตุ ขออนุญาตออกนอกเรื่อง จิงโจ้นิวส์จำได้ว่าในตอนนั้นอุตสาหกรรมเสื้อผ้าในออสเตรเลียอยู่ในภาวะกระอักเลือด จากสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปนำเข้าจากต่างประเทศ เข้ามาตีตลาดในราคาถูกกว่าผลิตในประเทศหลายเท่า ในช่วงนั้นมีคนไทยหัวใสสั่งกางเกงยีนส์จากกรุงเทพฯมาขายได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ สั่งมากี่คอนเทนเนอร์ก็ขายหมดเกลี้ยง แต่ก็ทำกำไรได้ในระยะเวลาอันสั้น ไม่นานก็ถูกกางเกงยีนส์จากจีนนำเข้ามาตีตลาดในราคาต่ำกว่าต้นทุนที่สั่งจากประเทศไทยเกือบครึ่งต่อครึ่ง ทำให้คนไทยหัวใสที่ปรับตัวไม่ทันเจ๊งกันไปทั่วหน้า
นาย Le ได้เปลี่ยนอาชีพมาเปิดร้านแต่งเล็บภายใต้ชื่อ Hollywood Nails ถึงวันนี้เขามีร้านแต่งเล็บสาขาทั่วรัฐวิกตอเรีย 70 ร้าน โดยจ้างพนักงานหลายร้อยคน
ธุรกิจร้านเสริมความงามโดยผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามได้กลายเป็นแนวนิยมในหลายประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐ ในขณะที่ Hollywood Nails ก็สามารถดึงดูบุคคลในวงการทีวีของออสเตรเลียเข้ามาเป็นลูกค้าหลายคน
หนึ่งในนั้นคือนาง Gamble Breaux ผู้แสดงทีวีซีรีส์ Real Housewives of Melbourne ก็เป็นหนึ่งในลูกค้าประจำของ Hollywood Nails โดยเธอใช้บริการที่สาขาภายในศูนย์การค้า Emporium ในย่านธุรกิจกลางใจเมืองของเมลเบิร์น
นาง Breaux กล่าวว่า พนักงานสาว ๆ ของที่นี่ทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยม, สะอาด และเคารพในความเป็นส่วนตัว
สำหรับนาย Le เขาพูดถึงตัวเขาว่าเป็น “เรือมนุษย์” ที่หลบหนีภัยคอมมิวนิสต์เวียดนามในปี 1982 ลงเรือไปยังประเทศฟิลลิปปินส์ โดยใช้เวลาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่นั้นเป็นเวลา 2 ปีก่อนมาอยู่ออสเตรเลีย

นสพ. the Daily Telegraph ฉบับ 14 ก.ย. 2014 เสนอข่าวผู้ลี้ภัยบนพื้นฐานมนุษยธรรมเกือบ 90% เป็นผู้ที่ต้องพึ่งพาเงินสวัสดิการณ์
เรื่องราวของนาย Le ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง หลังจากสำนักงานสถิตแห่งออสเตรเลีย (ABS) ออกรายงานผลการวิจัยล่าสุดพบว่า ผู้อพยพ (ผู้ลี้ภัย) บนพื้นฐานด้านมนุษย์ธรรมเกือบ 90% เป็นผู้ที่ต้องพึ่งพาเงินสวัสดิการของรัฐ
ในทางกลับกัน ABS พบว่าผู้อพยพด้านมนุษยธรรมที่เกิดในสหราชอาณาจักรและแอฟริกาใต้เป็นกลุ่มที่สามารถสร้างรายได้จากการทำธุรกิจสูงสุดด้วยรายได้เฉลี่ยราว 56,000 เหรียญต่อปี ตามด้วยจากซิมบับเว่ 53,295 เหรียญ และฟิลิปปินส์เกือบ 50,000 เหรียญ
ในทางกลับกันกลุ่มผู้เข้ามาตั้งหลักแหล่งโดยพื้นฐานของมนุษย์ธรรมที่สร้างรายได้ต่ำสุดสามอันดับคือ ผู้ลี้ภัยจากอัฟกานิสถาน 12,517 เหรียญ, จีน 14,169 เหรียญ และอิรัก 16,258 เหรียญ
jingjonews.com
jingjonews@hotmail.com
จิงโจ้นิวส์เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์
Categories: ข่าวออสเตรเลีย
Leave a Reply