ผลตรวจทูน่าพบเชื้อสคอมบรอยด์ แต่สุ่มตรวจ 21 กป.ไม่พบเชื้อร้าย

สลัดปลาทูน่าจากร้านคาเฟ่ Soul Origin ที่มีผู้ป่วยกินแล้วเกิดอาการอาหารเป็นพิษ 7 คน

สลัดปลาทูน่าจากร้านคาเฟ่ Soul Origin ที่มีผู้ป่วยกินแล้วเกิดอาการอาหารเป็นพิษ 7 คน

12 มี.ค. 2015 ผลการตรวจสอบปลาทูน่ากระป๋องที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ออกมาเมื่อวานนี้ (11 ม.ค.) พบถึงความเป็นไปได้สูงว่าจะมาจากขั้นตอนการจับปลาหรือกระบวนการผลิตในประเทศไทย ไม่ใช่จากการปรุงอาหารจากร้านอาหารในออสเตรเลีย

เมื่อวานนี้ที่ 11 มีนาคม สำนักงานอาหารรัฐนิวเซาท์เวลส์ (NFA) ได้รายงานผลการตรวจสอบสลัดปลาทูน่าจากร้านคาเฟ่สไตล์เทคอะเวย์ Soul Origin ใกล้ Town Hall ที่เป็นสาเหตุให้ผู้ทำงานในนครซิดนีย์ 7 คนล้มป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อสคอมบรอยด์ พบว่าในเนื้อปลาทูน่าที่ใช้ทำสลัดมีสารฮิสตามิน (histamine fish poising) ในระดับ 3,950 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม   สูงกว่าอัตราที่ยอมรับว่าปลอดภัยที่ 200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม

โฆษกของสำนักงาน NFA กล่าวว่า สารฮิสตามิน เป็นสารพิษที่เกิดขึ้นในปลาเฉพาะปลาในวงศ์ที่ก่อให้เกิดพิษปลาทะเลสคอมบรอยด์ หรือ scombroid fish poisoning เช่นปลาทูน่าและปลาซาดีน เมื่อมันเกิดแบคทีเรียตามธรรมชาติในตัวปลา แบคทีเรียจะผลิตเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนฮีสทีดีน (histidine คือกรดแอมิโนที่จำเป็นสำหรับวัยเด็ก) ในปลาให้เป็นสารพิษฮิสตามิน

ขบวนการนี้สามารถเกิดได้จากผลของอุณหภูมิในขณะจับปลาหรือขั้นตอนในการผลิต และถือเป็นเรื่องปกติที่มีปริมาณปลาไม่มากเกิดปฏิกริยาสร้างสารพิษฮิสตามิน ในขณะที่ปลาส่วนใหญ่ไม่เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้

หลังจากที่เกิดเหตุมีผู้ล้มป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อสคอมบรอยด์ ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกิดความไม่มั่นใจในกระบวนการผลิตในประเทศไทย ที่รวมถึงการไม่จัดเก็บปลากระป๋องที่ผลิตได้ไวในห้องเย็น

อย่างไรก็ตามสำนักงาน NFA ได้นำตัวอย่างปลากระป๋อง John Bull ที่เป็นสาเหตุให้มีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 7 รายมาทำการทดสอบ พบว่าทั้ง 21 กระป๋องผ่านการทดสอบ ไม่มีกระป๋องใดปนเปื้อนสารฮิสตามินในระดับอันตราย

ปลาทูน่ากระป๋อง John Bull ผลิตจากโรงงานของบริษัท ISA Value Co Ltd ในประเทศไทย นำเข้าโดยบริษัท FTA Food Solution Ltd. ในรัฐวิกตอเรีย

โฆษกคนเดิมกล่าวว่า ความกังวลในเรื่องปลาลูน่ากระป๋องนำเข้าทำให้กระทรวงเกษตรแห่งเครือรัฐออสเตรเลียซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบต้องเข้าจัดการเคลียร์ปัญหาอย่างเร่งด่วน ด้วยการระงับการจำหน่ายสินค้าชั่วคราวและหยุดการนำเข้าไว้ก่อน จนกว่าผลการตรวจสอบจะออกมา

ผลการทดสอบที่ออกมา ทำให้สำนักงาน NFA พอใจ ไม่สั่งปรับหรือลงโทษร้านคาเฟ่และบริษัท FTA Food Solution ผู้นำเข้า นอกจากนั้นผลการทดสอบสินค้าโดย FTA Food Solution และ ISA Value Co Ltd ก็พบว่าปลอดภัยต่อการบริโภคเช่นกัน

ร้านคาเฟ่เทคอะเวย์ Soul Origin ใกล้ Town Hall ในนครซิดนีย์

ร้านคาเฟ่เทคอะเวย์ Soul Origin ใกล้ Town Hall ในนครซิดนีย์

นาย Rob Burgess ผู้อำนวยการของ FTA Food Solution ออกมาแถลงข่าว ขอแสดงความเสียใจแก่ลูกค้าร้านคาเฟ่ที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อสคอมบรอยด์เมื่อเร็ว ๆ นี้ และหวังว่าทุกคนได้หายเป็นปกติแล้ว

เขากล่าวว่า ผลจากการทดสอบปลากระป๋องที่ยังไม่เปิดฝาทุกกระป๋อง พบว่าสินค้าได้คุณภาพตามมาตรฐานต่อการบริโภค และกลับมาอยู่ภายในกรอบของความปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ (คือมีสารฮิสตามินต่ำกว่า 200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม)

เป็นที่เชื่อว่าตัวปลาที่ไม่สามารถรักษาความสดได้ทั้ง 100% ในขั้นตอนการจับก่อนถึงโรงงานและการคงคลังปลาทูน่ากระป๋องไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง ได้มีส่วนทำให้ปลาทูน่า (บางกระป๋อง) เมื่อเปิดฝาออกสามารถผลิตสารฮิสตามินในระดับอันตรายได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยเฉพาะในวันที่มีอากาศร้อนจัด

หมายเหตุ ท่านสามารถอ่านข่าวเกี่ยวเนื่องในเรื่องทูน่าจากประเทศไทยได้ด้วยการกดคลิก “John Bull Tuna” ได้ที่ Tags ท้ายข่าวนี้

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com

จิงโจ้นิวส์เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน   โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Leave a Reply

%d