ไทยผ่านกฎหมาย Gammy หยุดธุรกิจให้เช่ามดลูกข้ามชาติ

แฝด Gammy

แฝด Gammy

21 ก.พ. 2015 รัฐสภาไทยได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติห้ามรับจ้างคลอดบุตรเพื่อการค้าเรียบร้อยแล้ว เป็นการปิดทางไม่ให้ครอบครัวชาวต่างชาติ ที่รวมถึงออสเตรเลียที่ต้องการมีบุตรไม่สามารถว่าจ้างหญิงไทยรับจ้างเป็นแม่อุ้มบุญได้อีกต่อไป

กฎหมายฉบับนี้อาจไม่เกิดขึ้นหากไม่เกิดเหตุการณ์สองสามีภรรยาจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียทิ้ง Gammy บุตรแฝดเพศชายที่เกิดมามีอาการดาวน์ซินโดรมไว้ให้แม่บุญอุ้มชาวไทยเลี้ยง   แล้วนำ Pipah แฝดหญิงที่มีร่างกายสมบูรณ์กลับออสเตรเลีย

ร่างกฎหมาย Gammy ได้ผ่านรัฐสภาของไทยเมื่อวานนี้ที่ 20 กุมภาพันธ์ เพื่อเป็นการปิดช่องโหว่ของกฎหมายสาธารณสุขที่กฎหมายฉบับเดิมเปิดช่องให้มีการทำธุรกิจแม่อุ้มบุญเพื่อการพานิชย์

กฎหมายใหม่จะปิดช่องทางไม่ให้ชาวต่างชาติและคู่รักเพศเดียวกันใช้บริการให้เช่ามดลูกในประเทศไทย

แต่ไม่ปิดโอกาสเสียทีเดียว โดยจะอนุญาตให้เฉพาะคู่สมรสที่เป็นคนต่างเพศที่มีบุตรยาก และอย่างน้อยจะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนไทย สามารถใช้วิธีแม่อุ้มบุญได้ โดยจะต้องไม่เป็นการว่าจ้างหญิงมารับเป็นแม่อุ้มบุญ และผู้เป็นแม่อุ้มบุญจะต้องเป็นหญิงสัญชาติไทยที่มีอายุเกินกว่า 25 ปีขึ้นไปเท่านั้น

นอกจากนั้นกฎหมายยังกำหนดให้ผู้เป็นแม่อุ้มบุญ จะต้องเป็นญาติกับผู้เป็นสามีหรือภรรยาของคู่สมรสที่มีบุตรยากอีกด้วย

กฎหมาย Gammy ยังห้ามทำการโฆษณาใด ๆ เพื่อการบริการให้เช่ามดลูกหรือรับทำแม่อุ้มบุญ  และมีผลให้ธุรกิจเอเยนซี่แม่อุ้มบุญ และคลีนิคเพื่อการเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายต้องปิดตัวลง

กรณีของทารก Gammy ได้กลายเป็นมหากาพย์ในหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อทีวีของออสเตรเลียติดต่อกันหลายวันในช่วงเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา เมื่อนาง Pattaramon Chanbua (ภัทรมน จันทร์บัว) แม่อุ้มบุญชาวไทย ออกสื่อแฉนาย David และนาง Wendy Farnell สองสามีภรรยาจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ทิ้งแฝด Gammy ไว้ให้เธอเลี้ยงแล้วนำแฝด Pipah กลับออสเตรเลีย

นาย Farnell ซึ่งเป็นบิดาโดยสายเลือดของ Gammy ที่เกิดจากไข่ของสตรีไทยที่ทำงานเอเยนต์ให้เช่ามดลูกต่อมาถูกพบว่าในอดีตเป็นนักโทษคดีละเมิดทางเพศต่อเด็กเล็ก   แต่เขาก็ยังได้รับอนุญาตให้เลี้ยงดูแฝด Pipah หลังจากกรมคุ้มครองเด็กประเมินว่า Pipah จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างปลอดภัย

กระทรวงต่างประเทศออสเตรเลียได้ทำการเจรจากับรัฐบาลไทย ในอำนวยการสะดวกในการพิสูจน์ทารกจำนวน 150 คนที่เกิดจากเชื้อฯของบิดาและหรือไข่ของมารดาชาวออสเตรเลียโดยใช้แม่อุ้มบุญรับจ้างในประเทศไทยที่เป็นสตรีชาวไทยหรือจากเพื่อนบ้าน ที่ยังตกค้างภายหลังเกิดเหตุการณ์ Gammy ในการส่งกลับออสเตรเลีย ทำให้สามารถร่นระยะเวลาขั้นตอนการพิจารณาของศาลไทยที่คาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 1 ปีลงเหลือประมาณ 1 เดือน



Categories: ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , ,

Leave a Reply

%d bloggers like this: