20 ก.พ. 2015 เช้าตรู่ของวันนี้ที่ 20 กุมภาพันธ์ได้เกิดพายุไซโคลนสองลูกใหญ่จากมหาสมุทรแปซิฟิกพัดเข้าหาชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือ และทางเหนือของออสเตรเลียในเวลาใกล้เคียงกัน ด้วยความรุนแรงในระดับ 4 และระดับ 5 ซึ่งถือว่ารนแรงที่สุดนับจากปี 2013 ทีเดียว
พายุทั้งสองเป็นพายุหมุนเขตร้อน หรือ tropical cyclone พายุลูกแรกมีชื่อว่าพายุไซโคลน Lam เริ่มก่อตัวรุ่นแรงระดับ 2 ในมหาสมุทรทางเหนือของออสเตรเลียมาตั้งแต่พุธที่18 กุมภาพันธ์ เพิ่มความรุ่นแรงเป็นระดับ 3 เมื่อพัดลงใต้ผ่านเกาะ Howard ในเวลา 18.00 น.ของวันพฤหัสฯที่ 19 กุมภาพันธ์ และสู่ฝั่งนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี่ (NT) กินพื้นที่ระหว่าง Milingimbi ถึง Nhulunbuy รวมถึง Elcho Island (ทางตะวันออกของเมืองดาร์วิน) ในเวลา 6.00 น.ของวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ด้วยความรุนแรงในระดับ 4 และความเร็วระดับ 230 ถึง 260 กม.ต่อชม.
ปริมาณฝนตกอย่างหนักคาดว่าจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ต่ำทางตอนเหนือของ Top End ทำให้ทางการได้อพยพชุมชน Warruwi มาอยู่ในที่ปลอดภัย
ส่วนประชากรจำนวน 400 คนบนเกาะ Goulburn Island หนึ่งในเกาะที่อยู่ห่างไกลจากพื้นแผ่นดินใหญ่ ได้ถูกอพยพมาอยู่ในที่ปลอดภัยในเมืองดาวินตั้งแต่วันพฤหัสฯที่ผ่านมา
ปัญหาไฟฟ้าถูดตัดขาด และน้ำดื่มเป็นปัญหาใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้น แม้จะมีการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าก็ตาม
นาย Reece Kershaw รักษาการผู้บัญชาการตำรวจ NT ประมาณว่า จะมีประชาชน 4 ถึง 5 พันคนในชุมชนห่างไกลอยู่ในเส้นทางของพายุไซโคลน Lam ที่จะถูกตัดขาดจากการติดต่อกับภายนอก เว้นแต่ทางอากาศ
พายุหมุนเขตร้อนอีกลูกหนึ่งคือพายุไซโคลน Marcia เริ่มก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียพัดเข้าสู่ชายฝั่งตอนกลางของรัฐควีนสแลนด์ในเวลา 7.00 น.ของวันนี้ที่ 20 กุมภาพันธ์ด้วยความรุนแรงระดับ 5 โดยพัดเข้าสู่ฝั่งที่บริเวณระหว่าง Yeppoon และ Rockhampton ด้วยความเร็ว 295 ก.ม.ต่อชม.
ทางการได้ขอร้องให้ประชาชนอย่าออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น ในขณะที่บางพื้นที่มีฝนตกหนักถึง 500 ม.ม.ในช่วง 24 ชั่วโมง พื้นที่ราบกว้างใหญ่บริเวณจุดรวมของน้ำเสี่ยงต่อน้ำไหลมาบรรจบกันอย่างรวดเร็ว จนอาจเกิดปรากฎกาณ์สึนามิในแผ่นดิน อย่างที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคมปี 2011
ทางการได้แจกถุงทรายฟรีอย่างไม่อั้นสำหรับผู้อยู่อาศัยในนครบริสเบนและบริเวณใกล้เคียง เพื่อทำทำนบป้องกันน้ำท่วมเข้าที่พักอาศัย
สำหรับการโทรขอความช่วยเหลือเหตุฉุกเฉิน SAS สามารถโทรได้ที่หมายเลข 132 500 การโทรแจ้งเหตุฉุกเฉินที่คุกคามถึงชีวิตให้โทรหมายเลข 000
ขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากไซโคลน Lam และไซโคลน Marcis
Categories: ข่าวออสเตรเลีย
Leave a Reply