
นสพ. the Daily Telegraph ฉบับ 10 ต.ค. 2014 เสนอข่าวสงสัยนาง Sue Ellen Kovack (ภาพด้านขวา) พยาบาลอาสาสมัครอาจติดเชื้ออิโบล่าจากแอฟริกาก่อนเข้ามาในออสเตรเลีย
10 ต.ค. 2014 ออสเตรเลียอาจจะเป็นประเทศนอกเหนือแอฟริการายที่ 4 ที่มีผู้ป่วยโรคไวรัสร้ายอีโบล่า หลังจากนาง Sue Ellen Kovack พยาบาลอาสาสมัครสภากาชาดสากลทำงานให้กับโรงพยาบาลในประเทศเซียร์ราลีโอน และเพิ่งเดินทางกลับเข้าประเทศ เธอถูกกักตัวระยะหนึ่งก่อนปล่อยตัวออกมาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ถูกนำส่งโรงพยาบาลในเมือง Cairns รัฐควีนสแลนด์ หลังจากป่วยด้วยอาการคล้ายผู้ป่วยโรคไวรัสอีโบล่า
นาง Kovack พยาบาลจดทะเบียนอนุญาตประกอบโรคศิลป์ขั้นหนึ่งวัย 57 ปีได้เดินทางกลับรัฐควีนสแลนด์ หลังจากเดินทางไปช่วยผู้ป่วยที่โรงพยาบาลของประเทศเซียร์ราลีโอน ในทวีปแอฟริกาที่ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากโรคร้ายแล้ว 3,900 คน โดยเธอใช้เวลาทำงานที่นั่นเป็นเวลา 1 เดือน
เธอเดินทางกลับสู่บ้านที่เมือง Caine โดยแวะผ่านนครเมลเบิร์นและนครเพิร์ทได้เกิดล้มป่วยลง 2 วันหลังจากกลับถึงบ้านซึ่งเธออาศัยอยู่กับเพื่อนคนหนึ่ง
เธอเป็นหนึ่งใน 3 ของพยาบาลอาสาสมัครที่เดินทางกลับจากการอาฟริกา อีกสองคนคือพยาบาลจากบริสเบนและพยาบาลจากซิดนีย์ ทั้งสามคนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของระบบการป้องกันการแพร่เชื้อโรคอย่างรัดกุมด้วยการอยู่ภายในที่อยู่อาศัยอย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลา 21 วัน แต่อาการป่วยของนาง Kovack ทำให้เกิดความหวาดกลัวโรคอีโบล่าจะแพร่ระบาดในออสเตรเลีย หากผลการตรวจเชื้ออีโบล่าจากตัวอย่างเลือดออกมาเป็นบวก
ในการให้สัมภาษต่อสื่อมวลชนก่อนเดินทางไปเซียร์ราลีโอน นาง Kovack กล่าวว่า “ฉันไม่เคยกลัวไวรัสอีโบล่า ตราบใดที่ฉันอยู่ในชุด PPE (ชุดอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล)” “สิ่งที่ฉันกลัวคือความเหนื่อยล้า, การทำผิดพลาด หรือคนอื่นทำผิดพลาด และความเจ็บปวดจากผลลัพธ์ที่ตามมา”
ก่อนหน้านี้มีการยืนยันว่า มีผู้ป่วยโรคอีโบล่านอกแอฟริกาแล้วในสามประเทศคือ สหรัฐ, สเปน และเยอรมันนี ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดเป็นแพทย์หรือพยาบาลอาสาสมัครขององค์การอนามัยโลกหรือกาชาดิสากลที่ไปทำงานรักษาผู้ป่วยในแอฟริกา และที่สหรัฐนาย Thomas Duncan ผู้ป่วยโรคอีโบล่าคนแรกในสหรัฐเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อวานนี้ที่ 9 ตุลาคม
พญ. Jeannette Young ปลัดกระทรวงสาธารณสุขรัฐควีนสแลนด์กล่าวว่า นาง Kovack มีอาการไข้ระดับต่ำในอุณหภูมิ 37.6 องศาเซลเซียส เธอได้ถูกจับแยกจากคนไข้อื่น ๆ และถูกนำตัวอย่างเลือดส่งมายังห้องแล็บในนครบริสเบนเพื่อทำการตรวจสอบ
เธอกล่าวว่า เชื้อไว้รัสอีโบล่าจะแพร่เชื้อได้โดยสารคัดหลั่งเท่านั้น ดังนั้นโอกาสที่จะติดเชื้อจากคนสู่คนจึงต่ำมาก
ผู้ป่วยโรคอีโบล่าประมาณ 70% จะเสียชีวิตภายใน 8 หรือ 9 วันหลังติดเชื้อ โดยมีอาการอาเจียนอย่างรุนแรง, เจ็บปวด และเลือดออกทางตา, หู และจมูก
โฆษกของกระทรวงสาธารณสุขของรัฐบาลกลาง กล่าวว่าขณะนี้มีแพทย์และพยาบาลที่กลับจากแอฟริกาได้รับการตรวจเลือดหาเชื้ออีโบล่าแล้ว 11 คน ทุกคนถูกกักตัวเป็นเวลา 21 วัน รวมถึงนาง kovack จึงเชื่อว่าโอกาสที่เธอจะติดเชื้ออีโบล่ามีน้อยมาก
อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจสอบพบว่า เธอไม่ได้ติดเชื้ออีโบล่าแต่อย่างใด

นสพ. the Age ฉบับ 10 ต.ค. 2014 ลงข่าวพยาบาลล้มป่วยอาการคล้ายอีโบล่า ภาพขวาคือนาง Sue Ellen Kovack และภาพซ้ายคือชุดที่เธอสวมใส่ตลอดเวลาในการทำงาน
Categories: ข่าวออสเตรเลีย
Leave a Reply