7 ก.ย. 2014 สำนักงานดับเพลิงและช่วยชีวิตรัฐน.ซ.ว. (FRNSW) เผยตัวเลขในปีที่ผ่านมาสำนักงานดับเพลิงได้เข้าปฎิบัติงานสนองตอบเหตุสัญญาณเตือนไฟดังโดยไม่เกิดไฟไหม้จริงจำนวนทั้งสิ้น 45,052 ครั้ง ทำให้ต้องเสียงเงินภาษีของประชาชนเป็นจำนวนปีละ 136 ล้านเหรียญ ในจำนวนนี้ 9,686 ครั้งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สำคัญภายในที่อยู่อาศัยเช่น ปิ้งขนมปังไหม้เกินไป, อาบน้ำนานจนเกิดไอร้อน, จุดเทียน หรือปรุงอาหารใกล้จุดเครื่องจับความร้อนและควันไฟ ความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ทำให้รัฐต้องสูญเสียเงินภาษีของประชาชนเป็นจำนวนปีละ 30 ล้านเหรียญ
ภายใต้กฎหมายการดับเพลิง FRNSW จะต้องสนองตอบต่อสัญญาณเตือนไฟอัตโนมัติ (AFA) ในทุกครั้งที่มีเสียงเตือน ซึ่งการออกปฏิบัติงานแต่ละครั้งจะมีต้นทุนอย่างน้อย 3,083 เหรียญ
ระบบการเตือนอัตโนมัติ AFA จะถูกบังคับให้ติดตั้งในอาคารที่มีความเสี่ยงเช่นกลุ่มที่พักอาศัยอยู่ด้วยกัน, สถานที่มีสินค้าและสิ่งของอันตราย อพาร์ทเมนท์ที่มีความสูงเกินกว่า 3 ชั้นขึ้นไปจะต้องติดตั้งระบบเตือนไฟไหม้อัตโนมัติส่งสัญญาณไปยังสถานที่ดับเพลิง
โฆษกหญิงของ FRNSW กล่าวว่า สัญญาณเตือนภัยที่ไม่เกิดไฟไหม้จริงมีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุด้วยกันเช่นจากความสะเพร่าของช่างไฟฟ้าในขณะทำการติดตั้ง, การปรุงอาหารแบบท้าทาย และการจุดเทียนวันเกิดผิดที่ เป็นต้น
เธอกล่าวว่า เพื่อลดจำนวนสัญญาณเตือนไฟไหม้ที่ไม่เกิดขึ้นจริง เจ้าของอาคาร, ผู้จัดการอาคารชุด และผู้อยู่อาศัยจะต้องแน่ใจว่ามีระบบการระบายอากาศอย่างเหมาะสมในห้องครัวและห้องน้ำ และไม่ปรุงอาหารในห้องที่ไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการทำครัว
จากข้อมูลของ FRNSW ยังพบว่าในปีที่ผ่านมา สัญญาณเตือนไฟไหม้ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงพบว่าเกิดจาก ธุรกิจภาคบันเทิงและการบริการ, โรงงานผลิตขนาดใหญ่, สถานีไฟฟ้าย่อย และโบสถ์ ในจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2012
โฆษกหญิงของ FRNSW ฝากเตือนว่า ภายใต้กฎหมาย ใครก็ตามที่ทำให้เกิดสัญญาณเตือนไฟไหม้โดยไม่เป็นจริง 2 ครั้งภายใน 60 วัน จะถูกปรับเป็นเงิน 1,250 เหรียญ
หมายเหตุ เพื่อป้องกันหัวข้อข่าวของจิ้งโจ้นิวส์ถูกลบออกจากระบบการ search ของ google ท่านที่ต้องการติดตามข่าวจิงโจ้นิวส์ ขอให้จด jingjonews.com เอาไว้ จะไม่พลาดในการเข้าอ่านข่าวและบทความของเรา ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ และสามารถให้ความเห็นได้ที่ jingjonews@hotmail.com
Categories: ข่าวออสเตรเลีย
Leave a Reply