ออสซี่เรียกร้อง Gammy กลับจิงโจ้ รับแม่อุ้มบุญ-ครอบครัวมาอยู่ด้วย

แฝด Gammy ทำไฮไฟว์

แฝด Gammy ทำไฮไฟว์

13 ส.ค. 2014 หลังจากที่นาย David และนาง Wendy Farnell ไม่สามารถผ่านด้านสัมภาษณ์มหาหินโดยนาง Tara Brown ผู้รายงานข่าวก็ระดับรางวัล Walkley Award ในรายการ 60 Minutes ได้ก่อให้เกิดกระแสชาวออสซี่ให้นำ Gammy กลับมาอยู่ในออสเตรเลีย โดยเปิดประตูต้อนรับนาง Pattharamon Chanbua (ภัทรมน จันทร์บัว) แม่อุ้มบุญชาวไทย ซึ่งทุกคนเชื่อว่าเธอจะเลี้ยงดู Gammy ได้ดีกว่าทุกคน   ในขณะเดียวกันก็มีการผลักดันให้มีการแก้กฎหมายการเข้าเมือง   ที่ยังมีการกีกกันผู้อพยพที่มีร่างกายและสติปัญญาพิการ

สำนักข่าวจากค่าย Fairfax ซึ่งเป็นผู้จุดประกายข่าวแฝด Gammy จนโด่งดังไปทั่วโลกให้ความเห็นว่า หากไม่มีการแก้กฎหมายการเข้าเมือง ครอบครัวของนาง Chanbua ก็จะถูกปฏิเสธการอพยพอันเนื่องมาจากอาการดาวน์ซินโดรมของแฝด Gammy โดยสื่อได้ยกตัวอย่างกรณีของนพ. Bernhard Moeller ซึ่งพาครอบครัวอพยพจากเยอรมันนีมาเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลในเมืองชนบทของรัฐวิกตอเรีย   และต่อมาถูกปฏิเสธสถานภาพผู้อยู่อาศัยถาวรอันเนื่องมาจาก Lukas บุตรชายวัย 13 ปีของเขามีอาการดาวน์ซินโดรม

อุปสรรคสำคัญอยู่ที่กฎหมายการเข้าเมืองฉบับปี 1958 ในอนุมาตราหนึ่งระบุไว้ว่าเด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรมและความพิการอื่น ๆ จะมีผลต่อการปฏิเสธการขออยู่อาศัยถาวรโดยอัตโนมัติ อันเนื่องมาจากการเพิ่มภาระให้กับเงินภาษีของประชาชน

นาง Catherine McAlpine ผู้อำนวยการดาวน์ซินโดรมออสเตรเลีย (DSA) สำนักงานอิสระที่จัดตั้งโดยรัฐและเทร์ริทอรีทั้ง 8 แห่งของออสเตรเลียกล่าวว่า กฎหมายการเข้าเมืองของออสเตรเลียยังมีการเลือกที่รักมักที่ชังต่อผู้มีอาการดาวน์ซินโดม ในกรณีของนพ. Moeller เขาอพยพเข้ามาในปี 2006 ตามโครงการแก้ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ชนบท เขาถูกกระทรวงการเข้าเมืองปฏิเสธสถานภาพเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรในปี 2008 อันเนื่องมาจากอาการดาวน์ซินโดรมของบุตรชายวัย 13 ปี   เหตุการณ์ครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนหลังจากข่าวแพร่ออกไปในวงกว้าง

ในช่วงเวลาเดียวกัน มีสตรีชาวอังกฤษซึ่งมาทำงานเป็นนางพยาบาลผดุงครรภ์ที่โรงพยาบาลในนครเพิร์ทกำลังทำการต่อสู้กับกระทรวงการเข้าเมืองเช่นกัน หลังจากกระทรวงไม่ต่อวิซ่าให้เนื่องจากเธอคลอดบุตรดาวน์ซินโดรม

ออสเตรเลียมีกฎหมายการเลือกที่รักมักที่ชังต่อผู้พิการปี 1992 (DDA 1992) ที่เข้มงวดและเอื้อประโยชน์แก่คนพิการที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก   แต่ในกฎหมายฉบับนี้ได้มีข้อยกเว้นให้กับกฎหมายการเข้าเมืองปี 1958

นาง McAlpine กล่าวว่าหน่วยงานของเธอต้องใช้เวลาหลายปีในการต่อสู้เพื่อครอบครัว Moeller แต่ก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากตัวบทกฎหมายที่ระบุไว้ชัดแจ้ง ทำให้เกิดกระแสต่อต้านทั้งจากสื่อในประเทศและในสหราชอาณาจักร

เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้นาย Chris Evans ร.มว.การเข้าเมืองในขณะนั้นต้องยื่นมือเข้ามาช่วย ทำให้ครอบครัว Moeller และหญิงผดุงครรภ์ชาวอังกฤษ (ที่ได้รับปกปิดชื่อ-นามสกุล) สามารถอยู่อาศัยถาวรในออสเตรเลียได้ และเป็นจุดเริ่มต้นให้มีการไต่สวนทางรัฐสภาถึงเรื่องของกฎหมายการรับผู้อพยพที่มีอาการพิการในปี 2012

นพ. Bernhard Moeller คนที่กอดคอ Lukas บุตรชายและ Isabella ภรรยา (เสื้อดำ) ถ่ายภาพร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่คลีนิกของเขาในเมือง Horsham รัฐวิกตอเรีย

นพ. Bernhard Moeller คนที่กอดคอ Lukas บุตรชายและ Isabella ภรรยา (เสื้อดำ) ถ่ายภาพร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่คลีนิกของเขาในเมือง Horsham รัฐวิกตอเรีย

 

หมายเหตุ ติดตามเรื่องราวของแฝด Gammy โปรดกด “แฝด Gammy” ที่ tags ด้านล่างข่าวนี้

 

jingjonews.com

jingjonews@hotmail.com

จิงโจ้นิวส์เป็นสื่อออนไลน์มีวัตุถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน   โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์

 



Categories: ข่าวออสซี่ในเมืองไทย, ข่าวออสเตรเลีย

Tags: , , , , , ,

Leave a Reply

%d bloggers like this: