21 พ.ค. 2014 ในเมื่อชาวไทยอีสานสามารถนำคางคกที่มีพิษมาปรุงเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชณาการได้ แล้วทำไมชาวออสเตรเลียในดินแดนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี่จะเลียนแบบเอาเจ้าคางคก cane toad ที่ทุกคนรังเกียจ และเป็นสัตว์สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรมาเป็นอาหารบ้างไม่ได้หรือ
แนวความคิดนี้ถูกคิดค้นได้โดยกลุ่มชาวนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี่ที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มเผยแพร่ให้รู้จักผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี่” หรือ GULP NT ได้รวมตัวกันเพื่อคิดค้นสูตรอาหารต่าง ๆ จากขาของเจ้าคางคก cane toad
นาง Emma Lupin หนึ่งในสมาชิก GULP NT กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมาคางคก cane toad ถูกมองข้ามว่าเป็นแหล่งอาหาร เพราะในดินแดนเทร์ริทอรี่มีสัตว์ป่าตามธรรมชาติมากมายเช่น ควายป่า, หมูป่า หรือแม้กระทั้งแพะ ลา จระเข้ ตะกวด กระปอม ตั๊กกระแตน เป็นทางเลือกได้ถ้าหากขาดแคลนอาหาร แต่หลายคนนึกไม่ถึงว่าคางคกก็เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่า ที่ควรเป็นทางเลือกก่อนสัตว์ธรรมชาติอื่น ๆ
เธอกล่าวว่า เธอและกลุ่มได้คิดสูตรอาหารจานเด็ดไว้มากมาย อย่างเช่นเอาขาคางคกมาคลุกกับพริกไทย กระเทียมและซอสเพิ่มความเค็ม นำไปทอดในน้ำมันร้อน ๆ จนกรอบ ก็จะได้อาหารเมนูพิเศษรสชาติอร่อยจนผู้กินลืมอาหารตามภัตตาคารห้าดาวไปได้เลย
หรือเมื่อหมักเสร็จแล้วเอาไปเข้าตู้เย็นสักสองช่วงโมง นำออกมาผัดกับน้ำมันงาจนสุก นำมาเสริฟพร้อมกับผักต่าง ๆ ของท้องถิ่นที่รวมถึงใบผักหวานและใบโรเซลล่า
อย่างไรก็ตามคางคก cane toad เป็นสัตว์ต้องกำจัดเพื่อไม่ให้ทำลายพืช และมีมากมายจึงสามารถนำมาเป็นอาหารเฉพาะส่วนขา โดยไม่ต้องเสี่ยงกินเนื้อส่วนอื่นของมันซึ่งอาจมีพิษ และเป็นอันตรายถึงชีวิตหากกินส่วนพิษเข้าไป ในดินแดนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี่ก็มีข่าวจระเข้ต้องเสียชีวิตลงจากการกินคางคก cane toad เข้าไป
นาง Lupin กล่าวถึงวิธีการจับคางคก cane toad ที่ปลอดภัยว่า ให้จับขาหลังของมัน แล้วจับมันใส่ถุงรีดลม เพื่อให้มันอยู่ในอาการสงบ เพราะหากมันมีอาการตื่นตะหนกมันจะปล่อยสารพิษออกมาทั่วตัวของมัน
เธอกล่าวว่าหนังของมันถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะคางคกมีสารพิษที่หลังและที่หนังของมัน จึงจำเป็นจะต้องเอาหนังมันออก และต้องระวังส่วนบนของตัวมัน ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือเมื่อจับมันใส่ถุง แล้วเอาไปแช่แข็ง เมื่อจะทำอาหารก็เอามันออกมาละลาย แล้วใช้มีดคมตัดขาของมันและลอกหนังออกเป็นอันใช้ได้
สมาชิก GULP NT กับขาคางคก cane toad คางคก cane toad ขาเดียวก็อิ่มแล้ว
หมายเหตุ อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง 10 พ.ย. 2014 คลิกที่นี่ “แนะเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส จับคางคกบุกรุกทำอาหารส่งออก“
jingjonews.com
jingjonews@hotmail.com
จิงโจ้นิวส์เป็นสื่อออนไลน์มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร, บทความและประชาสัมพันธ์เพื่อชุมชน โดยปลอดจากการโฆษณาในเชิงพาณิชย์
Categories: ข่าวออสเตรเลีย
Leave a Reply